แบบการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

Authors

  • อัจฉรา สังข์สุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม,วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิทยาลัยเทคโนโลยี อุตสาหกรรมและนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแบบการเรียนของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2548 จำนวน 1,077 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ได้รับการพัฒนามาจากแบบสอบถามแบบการเรียนของกราชาและไรซ์แมน (Grasha and Reichmann) จำนวน 6 แบบ ได้แก่ แบบ อิสระ แบบหลีกเลี่ยง แบบร่วมมือ แบบพึ่งพา แบบแข่งขัน และแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าในภาพรวมนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้แบบการเรียนแบบพึ่งพา สูงสุด เมื่อจำแนกตามระดับชั้นปี พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ชอบใช้แบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมสูงสุด ชั้นปีที่ 2 ชอบใช้แบบการเรียน แบบพึ่งพาสูงสุด ชั้นปีที่ 3 ใช้แบบการเรียนทั้งแบบร่วมมือและแบบมีส่วนร่วมสูงสุด ชั้นปีที่ 4 ใช้แบบการเรียนแบบร่วมมือสูงสุด และนักศึกษาทุกชั้นปี ใช้แบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยงต่ำสุด นักศึกษาเห็นว่าปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากตัวนักศึกษาไม่ตั้งใจเรียนโดยเฉพาะ อย่างยิ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3, และ 4 ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ประสบปัญหา คือ เรียนบางวิชาเรียน ไม่รู้เรื่องเพราะไม่เข้าใจที่อาจารย์สอน วิธีการสอนที่เหมาะสมกับแบบการเรียนของนักศึกษาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาส่วนใหญ่ คือ การสอนหลาย ๆ แบบผสมผสานกัน นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมควรสอดคล้องกับแบบการเรียนของนักศึกษาทั้งด้านผู้เรียน อาจารย์ผู้สอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนและคำนึงถึงปัญหาที่นักศึกษา ประสบจากแบบการเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้มากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : แบบการเรียนของนักศึกษา, การจัดการเรียนการสอน

Abstract

The main objectives of the research were to study learning style preferences of the four-year program undergraduate students from College of Industrial Technology as well as to propose the “learning management model” that matched each learning style. The population included 1,077 students enrolling in the 2006 academic year. The inventory adapted from Grasha’s and Reicemann’s Student Learning Style Scales (GRSLSS) was used to determine learners’ style preferences including Independent, Avoidance, Collaborative, Dependent, Competitive and Participant approaches. Means and standard deviations were analyzed via package program. The research revealed the favorite learning style of most students from overall majors and academic levels was the Dependent one. Considering academic levels in particular, most of the freshmen revealed their preference on the Participant scheme while the Dependent one was predominantly desired by the sophomores. The juniors generally chose both Collaborative and Participating dimensions whereas the seniors disclosed their favor upon Collaborative Style. In addition, the Avoidant method was revealed to be the least style preference of the population in overall. According to the study, the most outstanding problem came from inadequate attention of learners, particularly those in Style. In addition, the Avoidant method was revealed to be the least style preference of the population in overall. According to the study, the most outstanding problem came from inadequate attention of learners, particularly those in the second, third, and forth year. However, the freshmen informed their most incapability of following their class lectures. According to students’ suggestions, the combination style of teaching would probably be an ideal approach. In addition, instruction methods provided by the College of Industrial Technology should be pertinent to learning styles together with the characteristics of learners, instructors, instruction media, as well as evaluation processes. Meanwhile existing problems in learning are supposed to be taken into earnest consideration for the utmost benefit of learning proficiency.

Keywords : Learning styles, Instruction methods

Downloads

Published

2012-11-12

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)