การศึกษาสมรรถนะทางความร้อนของปล่องกระจกระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้สภาวะอากาศแบบร้อนชื้นของกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ปรีดา จันทวงษ์ อาจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง,วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • จงจิตร์ หิรัญลาภ ศาสตราจารย์, สายวิชาเทคโนโลยีพลังงาน, คณะพลังงาน สิ่งแวดล้อมและวัสดุ, ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ทางด้านอาคาร, สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • โจเซฟ เคดารี ศาสตราจารย์, สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • อำนาจ จันทน์กะพ้อ อาจารย์, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสมรรถนะทางความร้อนของปล่องกระจกระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้สภาวะอากาศแบบร้อนชื้นของกรุงเทพมหานคร ปล่องกระจกระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์จะมีลักษณะโครงสร้าง ประกอบด้วยกระจกสองชั้นมีขนาดความสูง 1.86 m. กว้าง 0.60 m. กระจกแผ่นนอกเป็นกระจกใสธรรมดาทั่วไปมีความหนา 0.006 m. ส่วนกระจกชั้นในมีความหนาประมาณ 0.006 m. และมีช่องว่างเท่ากับ 0.07 m. และช่องเปิดขนาด 0.13 m. x 0.60 m. ช่องเปิด ด้านล่างอยู่ภายในบ้าน ช่องเปิดด้านบนอยู่ภายนอกจะมีตาข่ายป้องกันแมลง การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะระหว่างห้องที่ติดตั้ง ปล่องกระจกระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์(GSCW) กับหน้าต่างกระจกใสชั้นเดียว ผลการทดลองพบว่าห้องที่ติดตั้งปล่อง กระจกระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์(GSCW) จะมีอุณหภูมิอากาศภายในต่ำกว่าห้องที่ติดตั้งหน้าต่างกระจกใสธรรมดาชั้นเดียว และสามารถระบายอากาศภายในห้องทำให้มีอากาศไหลเวียน ลดค่าความร้อนที่ส่องกระจกได้ดีกว่าห้องที่ติดตั้งกระจกใสชั้นเดียว โดยมีปริมาณแสงธรรมชาติที่ใกล้เคียงกับห้องที่ติดตั้งหน้ากระจกใสธรรมดาชั้นเดียว และช่วยประหยัดพลังงาน

คำสำคัญ : การลดค่าความร้อน, การระบายอากาศภายใน, แสงธรรมชาติ, รังสีอาทิตย์, การวัด

Abstract

This paper aim to Investigation the thermal performance of glazed solar chimney walls (GSCW) between of single glass window of under hot humid climate of Bangkok. The GSCW consisted of double glass panes. Its dimensions were 1.86 m height and 0.60 m width. The external glass was 0.006 m thick and internal glass was 0.006 m. thick. Made of clear glasses. The GSCW consisted of 0.07 m air gap and the size of openings was 0.13 m x 0.6 m, openings were located at the bottom (room side glass pane) and at the top (ambient side glass pane), covered with net for insect preventing. Comparison between GSCW and single glass window was also studied. The experimental results revealed that indoor temperature of GSCW room was less than that of single glass window rooms. GSCW could induce ventilation and reduce heat from sunlight whereas the daylight gain was nearly the same as single glass window rooms and saving energy.

Keywords : Heat gain reduction, Indoor air ventilation, Illuminated, Solar radiation, Measurement

Downloads

Published

2012-11-12

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)