การใช้น้ำยางข้นแบบแอมโมเนียปานกลางผสมในมอร์ต้าร์มวลเบา

Authors

  • ประชุม คำพุฒ อาจารย์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำน้ำยางข้นแบบแอมโมเนียปานกลางมาใช้เป็นสารผสมเพิ่มในการปรับปรุงสมบัติ ด้านการรับกำลังและการเป็นฉนวนกันความร้อนของมอร์ต้าร์มวลเบาแบบฟองอากาศ-อบไอน้ำออกแบบการทดลอง โดย ใช้อัตราส่วนผสมปูนซีเมนต์ต่อทรายบดละเอียดเท่ากับ 1:1 โดยน้ำหนัก ปริมาณผงอลูมิเนียมเท่ากับร้อยละ 0.3 ของ ส่วนผสมทั้งหมด อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.5 โดยน้ำหนัก (ไม่คิดปริมาณน้ำในน้ำยางข้น) ปริมาณปูนขาวเท่ากับ ร้อยละ 5 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ และปริมาณยิปซัมเท่ากับร้อยละ 5 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ มอร์ต้าร์มวลเบาต้อง ผสมสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุในปริมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ ใช้อัตราส่วนน้ำยางข้นต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.00, 0.05, 0.10, 0.15 และ 0.20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ทำการหล่อมอร์ต้าร์มวลเบาสำหรับทดสอบสมบัติต่าง ๆ ตามมาตรฐาน ASTM พบว่าเมื่อผสมน้ำยางข้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทำให้ความหนาแน่น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่กำลังอัด กำลังดัด และสัมประสิทธิ์การนำความร้อนมีแนวโน้มลดลง ส่วนอัตราการเปลี่ยนแปลงความยาว และอัตราการดูดซึมน้ำ ลดลงอย่างมากเมื่อใส่ปริมาณน้ำยางข้นเพียงเล็กน้อยแต่กลับมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อใส่น้ำยางข้นในปริมาณที่สูงขึ้น แสดงว่าการใส่ ปริมาณน้ำยางข้นที่เหมาะสมสามารถนำไปพัฒนาเป็นคอนกรีตมวลเบาที่มีสมบัติความทึบน้ำสูงได้ต่อไป

คำสำคัญ : มอร์ต้าร์, น้ำยางข้นแบบแอมโมเนียปานกลาง, ยางพารา, ฉนวนกันความร้อน

Abstract

This research is to use medium ammonia concentrated latex as an admixture for improving the strength and insulation properties of autoclave aerated lightweight mortar. In mix design, cement to sand ratio is 1:1 (by weight). The aluminum powder (0.3% by weight) is added, water to cement ratio equal of 0.5 (by weight not include water content in concentrated latex), five percent of lime and gypsum (by weight of cement) are added. Mortar must be added 4 % (by weight of cement) of the nonionic surfactant. The concentrated latex to cement ratios (P/C) are fixed at 0.00, 0.05, 0.10, 0.15 and 0.20 by weight. The lightweight mortar samples are cast for testing the properties followed the ASTM standard. From the results, it is found that the increase of concentrated latex affects in increasing of density but decreasing of compressive strength, bending strength and coefficient of thermal conductivity. For rate of elongation and rate of water absorption, it decreases considerably when the concentrated latex is added at small amount but it becomes higher values when adding the concentrated latex reaches at some amount. In the future, this indicates that the use of concentrated latex at some suitable amount can develop the concrete having the properties of thermal insulation and waterproof.

Keywords : Mortar, Medium ammonia concentrated latex, Para-rubber, Thermal insulation

Downloads

Published

2012-11-12

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)