การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดทดลองเพื่อเสริมทักษะวิชาปฏิบัติ วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ

Authors

  • สุริโยทัย สุปัญญาพงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • อรรถพล เข็มแดง ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการนำเสนอการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดทดลอง เพื่อเสริมทักษะวิชาปฏิบัติวงจรไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อใช้เสริมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พุทธศักราช 2543 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ชุดทดลองเพื่อเสริมทักษะวิชาปฏิบัติวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ประกอบด้วย แหล่งจ่ายไฟ เครื่องกำเนิด สัญญาณ แผงทดลอง ใบทดลองและใบประเมินรวม โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่2 ปีการศึกษา 2550 สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 20 คน เมื่อนักศึกษากลุ่ม ตัวอย่างทำการทดลองด้วยชุดทดลองเพื่อเสริมทักษะ วิชาปฏิบัติวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ครบทุกใบทดลองแล้ว จึงทำใบ ประเมินรวม จากนั้นจึงนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทำใบทดลอง และใบประเมินรวมมาทำการวิเคราะห์และสรุปผล ผลการวิจัยปรากฏว่า ชุดทดลองเพื่อเสริมทักษะวิชาปฏิบัติวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.81/82.25 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 แสดงว่าชุดทดลองเพื่อเสริมทักษะเหมาะสมกับการนำไปใช้ในการเสริมทักษะในวิชาปฏิบัติ วงจรไฟฟ้ากระแสสลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : ชุดทดลองเพื่อเสริมทักษะ, ประสิทธิภาพ, วิชาปฏิบัติวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ

Abstract

This experimental research aims to construct and evaluate the efficiency of skill-extension experimental set on AC Circuits Practice designed as a supplementary set for an Electrical and Electronics pre-engineering course of the 2000 vocational certificate curriculum of College of Industrial Technology (CIT), King Mongkut's University of Technology North Bangkok. A designed skill-extension experimental set with a power supply, a signal generator, and a board; worksheets; and evaluation sheets were used to elicit the data. The subjects were 20 CIT's second-year Electrical and Electronics pre-engineering students in the 2007 academic year. Data obtained from all tutorial and assessment tasks showed the skill-extension experimental set made a positive contribution toward the students’ learning achievement at 82.81/82.55, relatively higher than the criteria set at 80/80. Thus, it suggests that the skill-extension experimental set could be another supplementary set to promote the academic achievement.

Keywords : Skill-extension Experimental Sets , Efficiency, AC Circuits Practice

Downloads

Published

2012-11-06

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)