ผลกระทบจากสภาวะการขับขี่ที่ไม่คงที่ต่อมลพิษของรถยนต์ดีเซล
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยหลายชิ้นได้สรุปผลกระทบของพฤติกรรมการขับขี่ต่อปริมาณมลพิษด้วยหน่วยที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะหน่วยที่ได้จากการทดสอบรถยนต์ดีเซลบน Chassis Dynamometer เป็นหน่วยที่ขึ้นกับเวลา (g/km) ทำให้ ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ งานวิจัยนี้จึงนำข้อมูลโดยละเอียดของการขับขี่ตามรูปแบบมาตรฐานของกรม ควบคุมมลพิษมาคาดคะเนความเร็วรอบเครื่องยนต์และสภาวะการขับขี่เพื่อสังเกตผลกระทบที่มีต่อปริมาณมลพิษ ไอเสีย และเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ Chassis Dynamometer ทดสอบแทนการใช้ Engine Dynamometer ซึ่งน่าจะ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทดสอบได้ ผลการวิจัยได้แสดงว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปริมาณมลพิษจาก Phase 1 ไปสู่ Phase 3 ขึ้นอยู่กับหน่วยที่ใช้รายงานผล และพบว่าหากเปรียบเทียบการขับขี่ที่สภาวะคงตัวที่ความเร็วต่างกัน การขับขี่ที่ความเร็วสูงจะมีระดับมลพิษสูงกว่า และมลพิษจะสูงมากในขณะเปลี่ยนเกียร์หรือใช้เกียร์ไม่เหมาะสมกับ ความเร็ว วิธีการวิเคราะห์นี้มีข้อดีคือ สามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงปริมาณมลพิษที่เกิดจากสภาพการขับขี่จริง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลต่างๆ ก็ยังไม่ละเอียดเพียงพอที่จะใช้วิธีการนี้มาทดแทนการทดสอบด้วย Engine Dynamometer
คำสำคัญ : มลพิษไอเสีย, รถยนต์ดีเซล, กรมควบคุมมลพิษ, สภาวะการขับขี่ตามรูปแบบมาตรฐาน
Abstract
Previous researches regarding to the effect of driving behavior on the exhaust emissions reported in many different units. Especially, the emission tests of a diesel truck on a chassis dynamometer were reported in term of gram per kilometer (g/km). Therefore, the amount of the emissions varied with the time duration which cannot be brought to any further analysis. This research carried the detail of the standard driving cycle of the Pollution Control Department (PCD) to predict the engine speed and driving condition. This was to study the effects on the exhaust gas emissions and the application of using a chassis dynamometer instead of an engine dynamometer which can reduce the testing cost. The results showed that the emission level order among Phase 1, Phase 2 and Phase 3 depended on the unit. However, comparing to the same steady state driving pattern in different vehicle speeds, driving at higher speed produced higher exhaust emissions. Moreover, it was found that the emissions were particularly high during the gear shifting. Using the inappropriate gear ratio was also another source of high emissions. The advantage of the methodology used in this investigation was that it can show the variations of emission level from the actual driving behavior. However, the data is not enough to use this methodology instead of engine dynamometer testing.
Keywords : Exhaust emission, Diesel truck, Pollution control department, Standard Driving pattern