พฤติกรรมการสึกหรอของวัสดุเชิงประกอบพอลิไวนิลคลอไรด์ผสมผงขี้เลื่อยไม้ สำหรับผลิตภัณฑ์ไม้พื้น
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของน้ำหนัก ระยะทางในการขัดถู และสภาวะความชื้น ที่มีผลต่อสมบัติความทนทานต่อ การสึกหรอของวัสดุเชิงประกอบพอลิไวนิลคลอไรด์ผสมผงขี้เลื่อยไม้ จากผลการทดลอง พบว่า เมื่อเพิ่มน้ำหนักในการทดสอบทำ ให้การสึกหรอมีค่าสูงขึ้น แต่เมื่อเพิ่มน้ำหนักเป็น 1000 กรัม การสึกหรอสูงขึ้นในช่วงระยะทางการขัดถู 0.5-1.5 กิโลเมตร จากนั้น เริ่มมีแนวโน้มคงที่ในช่วง 1.5-2.0 กิโลเมตร ส่วนผลของระยะทางที่มีต่อการสึกหรอพบว่า เมื่อเพิ่มระยะทางในการทดสอบมากขึ้น ส่งผลให้การสึกหรอมีค่าสูงขึ้น จากการตรวจสอบโครงสร้างทางสัณฐานวิทยา พบว่า ที่น้ำหนัก 250-500 กรัม และที่ระยะทางใน การขัดถู 0.5-1.5 กิโลเมตร การสึกหรอเกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลในการสึกหรอของพอลิไวนิลคลอไรด์ สำหรับที่ระยะทาง 1.5-2.0 กิโลเมตร พบว่า ผงขี้เลื่อยไม้เริ่มมีอิทธิพลต่อการต้านทานการสึกหรอของชิ้นงาน และที่น้ำหนัก 1000 กรัม ระยะทาง 0.5-1.5 กิโลเมตร พบว่า การสึกหรอที่เกิดขึ้นเป็นเป็นอิทธิพลมาจากการขัดถูร่วม (3-body wear) ส่วนที่ระยะทาง 1.5-2.0 กิโลเมตร เกิด กระบวนการต้านทานการสึกหรออันเป็นผลมาจากอิทธิพลของผงขี้เลื่อยไม้ร่วมกับการเกิดฟิล์มระหว่างผิวสัมผัส (Transfer film) สำหรับผลของปริมาณการดูดซับน้ำ พบว่า ในกรณีที่ไม่ขัดผิวชิ้นงานสามารถต้านทานการดูดซับน้ำได้ดีกว่าชิ้นงานที่มีการขัด ผิวหน้าออก ที่ปริมาณการดูดซับน้ำ 3% พบว่า การสึกหรอที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีของพอลิไวนิลคลอไรด์ที่ ผิวหน้า และที่ปริมาณการดูดซับน้ำ 6 % พบว่า ผงขี้เลื่อยไม้เริ่มมีอิทธิพลต่อการต้านทานการสึกหรอของชิ้นงาน ส่วนที่ปริมาณการ ดูดซับน้ำ 9 % พบว่า เกิดกระบวนการขัดถูร่วม (3-body wear) ส่งผลให้ชิ้นงานมีปริมาณการสึกหรอสูงขึ้น
คำสำคัญ : วัสดุเชิงประกอบของพอลิไวนิลคลอไรด์ผสมผงขี้เลื่อยไม้, การสึกหรอ, ผลิตภัณฑ์ไม้พื้น
Abstract
The work is to study the effects of load, sliding distance and water absorption on wear properties and mechanism of wood/PVC composites. The experimental results indicated that the weight loss increased with an increasing load from 250 to 500g. When applying the load at 1000g, the weight loss increased at sliding distance of 0.5-1.5 kilometers followed by stability at sliding distance of 1.5-2.0 kilometers. The longer sliding distance resulted in the greater the weight loss in the wood/PVC composites. The worn surface of wood/PVC composites at loading 250g and 500g at 0.5-1.5 kilometers for sliding distance showed wear mechanism of Polyvinylchloride, and that ago 1.5-2.0 kilometers sliding distance, the wear mechanism result from wood flour effect. The three-body abrasion occurred at the load of 1000g at 0.5-1.5 kilometers sliding distance. The transfer film improved wear properties at 1.5-2.0 kilometers sliding distance. In case of the water absorption, the unscrubed specimens had more water absorption than the scrubbed specimens. The weight loss increased due to the increasing of specimen volume and density by water absorption. As a result, the weight loss was high at 3% water absorption. The mechanical wear involved with chemical reactions on the PVC surface. The wear mechanism at 6% and 9% water absorption involved wood resistance effect and abrasive three-body effect, respectively.
Keywords : Wood/PVC Composite, Wear, Flooring Products