การพัฒนาคอนกรีตบล็อกพรุนสำหรับอาคารประหยัดพลังงาน

Authors

  • สนธยา ทองอรุณศรี สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • วิไลพร นุ่นภักดี สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • ศรายุทธิ์ หลีแก้วสาย สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • อรวรรณ ปัญญานาค แผนกวิชาช่างก่อสร้าง, วิทยาลัยสารพัดช่างตาก

Abstract

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคอนกรีตบล็อกที่มีคุณสมบัติในการอนุรักษ์พลังงาน โดยนำคอนกรีตเบาชนิด ไร้ทราย มาผลิตเป็นคอนกรีตบล็อกพรุน ซึ่งมีน้ำหนักน้อยกว่าคอนกรีตบล็อกทั่วไป มีค่าการนำความร้อนต่ำ เพื่อช่วยลดความร้อน จากภายนอกที่เข้าสู่ตัวอาคาร และมีราคาใกล้เคียงกับคอนกรีตบล็อกทั่วไป เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถนำไปสร้างบ้าน ราคาประหยัด การวิจัยนี้เป็นการศึกษาส่วนผสมที่มีอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ ระหว่าง 0.25 - 0.45 และอัตราส่วนวัสดุผสมต่อ ปูนซีเมนต์ระหว่าง 6.0 – 12.0 มวลรวมที่ใช้เป็นหินปูนที่มีขนาดเดี่ยว โดยมีขนาด 3/8 นิ้ว (10 มิลลิเมตร) จากผลการวิจัยพบว่า เมื่อ พิจารณาจากคุณสมบัติด้านกำลังอัด หน่วยน้ำหนัก และราคาของคอนกรีตบล็อกพรุน ส่วนผสมที่เหมาะสำหรับนำมาผลิตเป็น คอนกรีตบล็อกพรุน ได้แก่ส่วนผสมที่มีอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ : มวลรวม เท่ากับ 1 : 9.33 โดยน้ำหนัก (1 : 11 โดยปริมาตร) และมี อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.367 คอนกรีตบล็อกพรุนที่ได้ มีกำลังอัดที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 52.22 กก./ตร.ซม. และมีหน่วย น้ำหนัก 1,629 กก./ลบ.ม. ซึ่งมีน้ำหนักและค่าการนำความร้อนน้อยกว่าคอนกรีตบล็อกทั่วไปประมาณ 20% และ 45% ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตประมาณ 2.12 บาทต่อก้อน (ไม่รวมค่าแรง) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับคอนกรีตบล็อกทั่วไป ดังนั้นจากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ ได้กล่าวมาแล้วจึงสามารถสรุปได้ว่า คอนกรีตบล็อกพรุนที่ได้จากงานวิจัยนี้เป็นคอนกรีตบล็อกที่มีคุณสมบัติในการอนุรักษ์พลังงาน ทั้งสามารถลดน้ำหนักของโครงสร้าง และช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่อาคาร เมื่อเทียบกับคอนกรีตบล็อกทั่วไป

คำสำคัญ : คอนกรีตบล็อก, คอนกรีตพรุน, คอนกรีตไร้ทราย, ค่าการนำความร้อน
(การประชุมวิชาการ การวิจัยภาคปฏิบัติและการพัฒนา ครั้งที่ 1, เชียงใหม่)

Abstract

The research developed concrete block having property for saving energy. The no-fine concrete is used to produce porous concrete block which lighter weight than typical concrete block, and have lower thermal conductivity resulted in heat transfer reduction from outside into the building. The porous concrete block has similar cost with typical concrete block so the person who has low revenue can use to build their house. In this study, the water to cement ratio is used in the range between 0.25 to 0.45 and the total weight of mixture to cement ratio in the range between 6.0 and 12.0. Crushed limestone with single size of 3/8” (10 mm.) is used as coarse aggregate. By considering the compressive strength, unit weight and production cost, the optimum proportion to produce porous concrete block is 1 : 9.33 by weight (cement : aggregate) or 1 : 11 by volume and water to cement ratio is 0.367. The compressive strength at day 28of curing of porous concrete block is 52.22 kg/cm3 and unit weight is 1,629 kg/m3. The porous concrete block have lower unit weight and thermal conductivity than typical concrete block about 20% and 45%, respectively. The production cost without wage is about 2.12 baht per unit which is similar to the typical concrete block. Thus, it suggested that the porous concrete block can conserved energy by reduced weight of structure and heat transfer to the building.

Keywords : concrete block, porous concrete, no-fine concrete, thermal conductivity
(Selected from 1st Symposium on Hands-on Research and Development, Chiang Mai)

Downloads

Published

2012-11-06

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)