การควบคุมมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้ชีวมวลของชุมชนป่าแดด

Authors

  • บัญจรัตน์ โจลานันท์ Department of Environmental Engineering, Rajamangala University of Technology Lanna, Chiangmai
  • ศิรประภา ร่มเย็น Department of Environmental Engineering, Rajamangala University of Technology Lanna, Chiangmai
  • จันทร์สุดา คำตุ้ย Padad Sub-district Municipality

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศและการเผาไหม้ชีวมวลภายในชุมชนป่า แดด รวมทั้งหารูปแบบการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้ชีวมวลที่เหมาะสมต่อบริบทชุมชน วิธีดำเนินการวิจัย ผสมผสานทั้งวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมทั้งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการสะท้อนความต้องการจากระดับล่างสู่การ วางแผนหรือการกำหนดนโยบายระดับบน การรวบรวมข้อมูลอาศัยการตรวจเอกสาร การลงสำรวจพื้นที่ การใช้แบบสอบถามเชิง โครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปเชิงพรรณนา การศึกษาพบว่าการเผาป่าไมยราบยักษ์ในที่ดินรกร้างว่างเปล่า (ร้อยละ 61.3) การเผาเศษวัสดุกิ่งไม้ใบไม้และการเผาขยะจากครัวเรือนในที่โล่ง (ร้อยละ 38.7) เป็นสาเหตุหลักของปัญหามลภาวะทางอากาศ มลพิษอากาศที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (ร้อยละ 31.9-42.6) ยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สินของชุมชน (ร้อยละ 33.3) ในภาพรวมของการศึกษาได้เสนอแผนงานหลักจำนวน 6 โครงการเพื่อควบคุมการเผา ได้แก่ 1) โครงการขับเคลื่อน การบังคับใช้กฎหมาย 2) โครงการพัฒนามาตรการภาษีก้าวหน้า 3) โครงการให้ความรู้ปลูกจิตสำนึก 4) โครงการแปรรูปและใช้ ประโยชน์จากชีวมวล 5) โครงการคัดแยกขยะชุมชน และ 6) โครงการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง สำหรับตัวชี้วัดประสิทธิผลใน การควบคุมการเผาไหม้ชีวมวล ได้แก่ 1) ความถี่ในการเผาลดลง 2) ทัศนวิสัยการมองเห็น 3) การรับรู้ข้อมูลมลพิษจากการเผา และ 4) จำนวนข้อร้องเรียนลดลง ขณะเดียวกัน ชุมชนยังคงกำหนดให้เทศบาลตำบลป่าแดดและแกนนำชุมชนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการ ขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว และกำหนดให้กลุ่มต่างๆ ในชุมชน เช่น อาสาสมัครหมู่บ้าน (อสม) สภาเยาวชน รวมถึงประชาชนใน พื้นที่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ

คำสำคัญ : มลพิษทางอากาศ, การเผาไหม้ชีวมวล, ชีวมวล
(การประชุมวิชาการ การวิจัยภาคปฏิบัติและการพัฒนา ครั้งที่ 1, เชียงใหม่)

Abstract

The research purposes are to investigate the status of air pollution problem and biomass burning in Padad community. Proper model for controlling air pollution from biomass burning which is related to the community-based context were also examined. The methodology used in this research was a mix of qualitative and quantitative method. A bottom-up approach was also emphasized in this study. The collection of data for this research was done by using document inspection, field survey, structured questionnaires, focus groups, participatory and non-participatory observations, in-depth interviews, workshop seminars, etc. The collected data were analyzed in order to get some descriptive conclusions. The results showed that land clearing by burning the Mimosa Pigra L. (61.3%) and open burning both of plant residues and solid waste (38.7%) were major sources of air pollution. The emission of polluted air not only adversely affected human health (31.9-42.6%) but the welfare and properties (33.3%) were also damaged. In overall perspective, the study proposed 6 master projects to control the biomass burning as follows; 1) driving the law enforcement, 2) developing the advanced tax system, 3) promoting the participation and awareness, 4) promoting an alternative method for utilization of biomass and plant residues, 5) performing the solid waste separation, and 6) implementing the community-based monitoring network. Proper indices of community-based air pollution control were 1) a reduction of burning frequency, 2) an increase in visibility, 3) an access to information on burning impact, and 4) a reduction of the complaint. Meanwhile, the Pa-Dad sub-district municipality and local leaders were assigned as a major role in driving all master projects. Other parties in the community such as public health volunteers, youth council and local people were also participated.

Keywords : Air pollution, Biomass burning, Community
(Selected from 1st Symposium on Hands-on Research and Development, Chiang Mai)

Downloads

Published

2012-11-06

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)