การพัฒนาต้นแบบถังขยะมูลฝอยติดเชื้อในห้องน้ำอาคารสาธารณะ
DOI: 10.14416/j.ind.tech.2024.08.006
คำสำคัญ:
ถังขยะ, ขยะมูลฝอยติดเชื้อ, การฆ่าเชื้อ, เชื้อไวรัสโควิด-19, อาคารสาธารณะบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบถังขยะมูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่ห้องน้ำอาคารสาธารณะให้สามารถทำลายเชื้อที่ปนเปื้อนมากับขยะเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดโรคติดต่อ โดยทำการสำรวจถังขยะในห้องน้ำของห้างสรรพสินค้าและออกแบบต้นแบบถังขยะโดยบูรณาการความรู้ด้านการออกแบบกับหลักการทำลายเชื้อขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ซึ่งถังขยะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) ถังชั้นบนสุดสำหรับทิ้งขยะกระดาษชำระ ฝาถังเปิดปิดอัตโนมัติเพื่อลดการสัมผัส (2) ถังชั้นกลางเป็นชั้นที่รวบรวมขยะและทำลายเชื้อ โดยการพ่นน้ำยาทำลายเชื้อให้ทั่วถึงพื้นที่ผิวขยะทั้งหมด ด้วยสารประกอบโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1% ผ่านหัวพ่นหมอก 2 ตำแหน่ง ซึ่งวัสดุเป็นทองเหลืองมีอัตราการไหล 7 ลิตรต่อชั่วโมง สามารถพ่นกระจายน้ำยาได้ทั่วถึงภายในระยะเวลา 45 วินาที แล้วกักขยะส่วนนี้ไว้อีก 15 นาที เพื่อประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อแล้วจึงนำส่งขยะไปยังถังชั้นล่าง (3) ถังชั้นล่างซึ่งออกแบบเป็นลักษณะลิ้นชักสำหรับเปิดจัดเก็บขยะที่ผ่านการทำลายเชื้อแล้วเพื่อนำไปกำจัดเหมือนขยะทั่วไป และผลิตต้นแบบเพื่อประเมินผลการใช้งานจากเจ้าหน้าที่บริหารจัดการอาคารและบุคคลทั่วไป ผลการประเมินพบว่า (1) ถังขยะมูลฝอยติดเชื้อในห้องน้ำสาธารณะต้องสามารถวัดผลด้านการทำลายเชื้อได้จริง (2) บุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจในด้านการใช้งาน ความสวยงาม การรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้งาน และการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับ
References
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php. (Accessed on 25 May 2022)
https://www.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=16722. (Accessed on 7 July 2020)
P. Akkajit, Infectious waste and infectious waste management in hospitals. Environmental Journal, 2019, 21(1), 31-39. (in Thai)
R. Takoporn, Infectious waste management behaviors within household: a case study of Chombueng, Ratchaburi province, Thesis, Silpakorn University, Thailand, 2015.
W. Khawboonchu, The factors that have an effect on infectious waste management by public health personnel in Kanchanaburi, Thesis, National Institute of Development Administration, Thailand, 2009.
S. Chandanachulaka, S. Tookaew, P. Krabkran, T. Hirunrueng, P. Sridaromont, Study for improving infectious waste management efficiency in Thailand, Thailand Journay of Health Promotion and Environmental Health, 2021, 44(3), 115-128. (in Thai)
N. Indrawattana, M. Vanaporn, Nosocomial infection, Journal of Medicine and Health Sciences, 2015, 22(1), 81-92.
https://hpc2service.anamai.moph.go.th/envdata/files/8.pdf (Accessed on 7 June 2023)
https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Covid-UV-C (Accessed on 9 July 2020)
https://siamrath.co.th/n/149956 (Accessed on 9 July 2020)
H. Jatana, M. Jongsuphanphong, T. Pankrib, P. Chantawon, Design and development of disinfected bin using ozonization with high pressure plasma system, The Journal of Applied Science, 2016, 15(2), 1-11.
https://covid19.anamai.moph.go.th/web-upload/2xdccaaf3d7f6ae30ba6ae1459eaf3dd66/m_document/6736/34126/file_download/49d59084c556cf0dea1d97c97d4cb0e0.pdf (Accessed on 7 July 2020)
C. Polpong, C. Ngamsang, W. Polpong, K. Buapha, Automatic sterilization arched entrance, Industrial Technology Journal Surindra Rajabhat University, 2022, 7(1), 58-65.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานวิจัยและบทความวิชาการที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความคิดเห็นอิสระของผู้เขียน ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากบทความนั้น กองบรรณาธิการและคณะจัดทำวารสารฯไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป