การวิเคราะห์และทดสอบดินเลนจากบ่อดักตะกอนของเหมืองแม่เมาะเพื่อผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ปอซโซลาน
DOI: 10.14416/j.ind.tech.2022.11.001
คำสำคัญ:
ดินเลน, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ปอซโซลาน, กำลังรับแรงอัดบทคัดย่อ
ดินเลนในบ่อดักตะกอนของเหมืองแม่เมาะถูกนำมาทดสอบและผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ปอซโซลาน จากการวิเคราะห์ด้วยเอกซเรย์ดิฟแฟรกชัน (XRD) พบว่า ดินเลนมีแร่เคโอลิไนต์เป็นส่วนประกอบ เมื่อทดลองเผาตัวอย่างดินเลนที่อุณหภูมิในช่วง 700-900 oC เป็นเวลา 3 ชั่วโมง และนำดินเลนเผามาผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาในอัตราส่วนร้อยละ 0,10 และ 20 โดยน้ำหนัก แล้วบ่มในน้ำปูนใสเป็นเวลา 3, 7 และ 28 วัน ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ XRD ของตัวอย่างจากกระบวนการพบเฟสของสารปอซโซลานิคในรูปของ Tobermorite (Ca5(Si6O16)(OH)2.4H2O) และ Foshagite (Ca4(Si3O9)(OH)2) หรือโครงสร้าง (CSH) จากนั้น นำดินเลนเผาที่ 100 และ 700-900 oC ผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา โดยผสมดินเลนเผาร้อยละ 0, 10 และ 20 โดยน้ำหนัก และทรายละเอียดในสัดส่วนตามมาตรฐานการขึ้นรูปเป็นมอร์ต้าร์ในแบบพิมพ์ทองเหลือง ขนาด 5 x 5 x 5 ซม. จากนั้นบ่มในน้ำปูนใสเป็นเวลา 3, 7 และ 28 วัน ตามลำดับ ทำการทดสอบสมบัติของปูนซีเมนต์ปอซโซลานตามมาตรฐาน มอก.849 พบว่า ตัวอย่างที่มีการผสมดินเลนเผาในช่วง 700-900 oC ผสมร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก มีกำลังอัดที่เป็นไปตามมาตรฐาน ตัวอย่างที่ผ่านการเผา 800 oC ผสมร้อยละ10 โดยน้ำหนักบ่ม 28 วัน มีกำลังอัดที่สูงที่สุด จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าดินเลนจากบ่อดักตะกอนในเหมืองแม่เมาะมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ปอซโซลาน
References
A. Pompasit, Pozzolan, Department of Science Service, Review Article, 2002, 1-2.
H. Yanguatin, J.Tobón and J. Ramírez, Pozzolanic reactivity of kaolin clays, a review, Revista Ingenierta de Construction, 2017, 32(2), 13-24.
TIS 849-2556, Portland Pozzolan Cement, 2013. (inThai)
J. Sangsuwan and P. Yoddamrong, Mechanical properties of pozzolans material lightweight concrete by binary blend system, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Thesis, Thailand, 2017. (inThai)
J.A. Becerra-Duitama and D. Rojas-Avellaneda, Pozzolans: A review, Journal of Engineering and Applied Science Research, 2022, 49(4) 495-504.
A. Leeanansaksiri, W. Phochan and T. Pongnum, Development of interlocking lightweight cement block from sludge ash mixed pozzolan material, Engineering Journal of Research and Development, 2020, 31(1), 135-143.
P. Satiman, P. Punrattanasin, S. Pattanapairoj and T. Kongsomboon, Behavior of adsorption and desorption of heavy metals on bentonite clay mixed with cement and pozzolanic materials by column leaching test, Engineering Journal of Research and Development, 2020, 31(2), 57-59.
A. Shukla, N. Gupta, A. Gupta, R. Goel and S. Kumar, Natural pozzolans a comparative study: A review, IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 2020, 804, 012040.
T. Cheewaket, N. Tonglom, A. Tessoongnren and W. Chalee, Effect of calcium hydroxide solution on compressive strength of mortar using high volume fly ash as a binder, The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 2021, 31(2), 278-287. (inThai)
TIS 15 (12)-2525, Portland Cement, 1982. (inThai)
ASTM C109/C109M-02, Standard Test Method for Compressive Strength of Hydraulic Cement Mortars (Using 2-in. or [50-mm] Cube Specimens), 2020.
S. Boonjaeng, Pozzolanic reaction and geopolymerization reaction of various kinds of clays and combustion ashes, Thesis, Chiang Mai University, Thailand, 2016.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 http://j.cit.kmutnb.ac.th/th/

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานวิจัยและบทความวิชาการที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความคิดเห็นอิสระของผู้เขียน ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากบทความนั้น กองบรรณาธิการและคณะจัดทำวารสารฯไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป