ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการจัดการความเสี่ยงกับผลการดำเนินงานแบบสมดุลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร (The Relationship Between the Efficiency of Risk Management and the Balanced Performance of SME Businesses in Bangkok's District)
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, การควบคุมภายในองค์กรบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับผลการดำเนินงานแบบสมดุล ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงกับผลต่อผลการดำเนินงานแบบสมดุล ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน ผู้ปฏิบัติงานด้านการบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามทั้งสิ้น 200 ราย ผลทางสถิติจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวแปรในการวัดประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยง ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านกลยุทธ์ ด้านการเงิน ด้านการปฏิบัติงาน และทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร เป็นตัวแปรที่สามารถวัดประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงที่ดี และตัวแปรในการวัดผลการดำเนินงานแบบสมดุล ทั้งผลการดำเนินงานในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินประกอบด้วย 4 ตัวแปรคือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านการดำเนินการภายใน และ ด้านการเรียนรู้และพัฒนา เป็นตัวแปรที่สามารถวัดผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1)วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงได้ดี ซึ่งภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีผลการดำเนินงานแบบสมดุลในระดับมาก 3) การทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสมการโครงสร้าง พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงของกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่งผลให้มีผลการดำเนินงานแบบสมดุลที่ดี
References
[2] Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission, “Enterprise Risk Management-Integrated Framework” Canada: Executive Summary, 2004.
[3] M. Beasley, D. Pagach and R. Warr, “Information conveyed in hiring announcements of senior executives overseeing enterprise-wide risk management processes”, Journal of Accounting Auditing & Finance 23(3), 2008, pp.311-332.
[4] R.E. Hoyt and A.P. Liebenberg, “The value of enterprise risk management”, Journal of Risk and Insurance 8(4), 2011, pp.795-822.
[5] K.G. Joreskog and D. Sorbom “LISREL 8: Structural equation modeling with the SIMPLIS command language” US: Scientific Software International, 1993.
[6] J.F.Jr. Hair, W.C. Black, B.J. Babin, R.E. Anderson and R.L. Tatham, “SEM: An introduction Multivariate data analysis: A global perspective”, London: Pearson Education, 2010.
[7] K. Vanichbuncha, “Structural Equation Modeling (SEM) with AMOS”, Bangkok: Samlada, 2013. (in Thai)
[8] S. Avakiat and S. Prawatrungruang, “Risk Management Related to the Performance of Small and Medium Enterprises in Pathumthani Provincee”, FEU Academic Review 11(4), 2017, pp.48-62. (in Thai)
[9] C.Florio and G.Leoni, “Enterprise risk management and firm performance: The Italian case”, The British Accounting Review 49(1), 2017, pp.56-74.
[10] D. Pagach and R. Warr, “The characteristics of firms that hire chief risk officers”, Journal of Risk and insurance 78(1), 2011, pp.185-211.
[11] M. Kittivutthikai and M. Chaisavaneeyakorn, “The Effects of Risk Management on the Work Success of Small and Medium Enterprises in Mukdaharn Province”, Journal of Humanities and Social Science Ubon Ratchathani University 6(1), 2015, pp.105-118. (in Thai)