อิทธิพลของข้อปล้อง ขนาดหน้าตัด และปริมาณความชื้นต่อกำลังรับแรงดึงของไม้ไผ่
Abstract
บทความวิจัยนี้นำเสนอผลการศึกษาอิทธิพลของข้อปล้อง ขนาดหน้าตัด และปริมาณความชื้นต่อกำลังรับแรงดึงของไม้ไผ่ในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่ ไผ่ตงและไผ่สีสุก ตัวอย่างทดสอบที่ใช้ในการศึกษานี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นตัวอย่างทดสอบที่ได้จากเนื้อไม้บริเวณกลางปล้อง และกลุ่มที่ 2 เป็นตัวอย่างทดสอบที่ได้จากเนื้อไม้บริเวณข้อปล้อง ตัวอย่างทดสอบทั้งหมดมีรูปหน้าตัดกลมและมีเส้นผ่านศูนย์กลางแตกต่างกัน 3 ขนาด คือ 2 mm 4 mm และ 6 mm ผลการศึกษาพบว่า กำลังรับแรงดึงบริเวณข้อปล้องของไผ่ตงและไผ่สีสุกมีค่าแปรผันอยู่ในช่วง 178 – 367 N/mm2 และ 134 – 242 N/mm2 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่ากำลังรับแรงดึงบริเวณกลางปล้องประมาณ 1.1 – 2.0 เท่า สำหรับไม้ไผ่ทั้งสองชนิด ในกรณีการศึกษาผลกระทบของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง พบว่าตัวอย่างทดสอบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็ก (2 mm) ให้ค่ากำลังรับแรงดึงบริเวณกลางปล้องของไผ่ตงเท่ากับ 734 N/mm2 และไผ่สีสุกเท่ากับ 490 N/mm2 ซึ่งสูงกว่าตัวอย่างทดสอบขนาดใหญ่ (6 mm) 3.65 และ 3.14 เท่า ตามลำดับ ส่วนอิทธิพลของความชื้นในไม้ไผ่แสดงให้เห็นว่า ไม้ไผ่ที่มีความชื้นต่ำจะให้กำลังรับแรงดึงสูงกว่าไม้ไผ่ที่มีความชื้นสูง ร้อยละ 9.4 – 31.7Downloads
Published
2014-02-25
Issue
Section
บทความวิจัย (Research article)