วัสดุป้องกันการคายประจุจากไฟฟ้าสถิต ที่เตรียมจากพอลิเมอร์ผสม ไคโตซาน/พอลิ(เอทิลีนไกลคอล)
Abstract
งานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์พอลิเมอร์ผสมไคโตซาน/(พอลิเอทิลีนไกลคอล) ในอัตราส่วนต่างกัน ทั้งแบบที่เติม และไม่เติมสารเชื่อมขวางกลูตารัลดีไฮด์ เพื่อศึกษาศักยภาพในการประยุกต์ใช้งาน เป็น วัสดุป้องกันการคายประจุจาก ไฟฟ้าสถิต ศึกษาสัณฐานวิทยา ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) สมบัติเชิงกล ด้วยวิธีทดสอบแบบดึง (Tensile testing) สมบัติทางไฟฟ้า โดยการวัดความต้านทานไฟฟ้าเชิงพื้นผิว และสุดท้ายได้ ศึกษามุมสัมผัสของน้ำบนพื้นผิวของพอลิเมอร์ผสม ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า พอลิเมอร์ผสมดังกล่าวไม่สามารถรวมตัวกัน เป็นของผสมเฟสเดียวได้ค่า ร้อยละการยืด ณ จุดขาด ของฟิล์มพอลิเมอร์ผสมแปรผันโดยตรง กับปริมาณของพอลิ(เอทิลีนไกลคอล) การเติมสาร เชื่อมขวางกลูตารัลดีไฮด์ลงในพอลิเมอร์ผสมทำให้ฟิล์มพอลิเมอร์ผสมมีความแข็งแรงมากขึ้น แต่มีความยืดหยุ่นน้อยลง พอลิเมอร์ผสมแสดงค่าความต้านทานไฟฟ้าเชิงพื้นผิวเปลี่ยนไปตามค่าความชื้นสัมพัทธ์ การเชื่อมขวาง และปริมาณของ พอลิ(เอทิลีนไกลคอล) นั่นคือ เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณ พอลิ(เอทิลีนไกลคอล) เพิ่มขึ้น ค่าความต้านทานไฟฟ้าเชิง พื้นผิวของแผ่นฟิล์มลดลง และความต้านทานไฟฟ้าเชิงพื้นผิวที่มีค่าต่ำลงไปอีก เมื่อพอลิเมอร์เกิดการเชื่อมขวางระหว่าง โมเลกุล การวัดค่ามุมสัมผัสของน้ำบนพื้นผิวของพอลิเมอร์ผสมแสดงให้เห็นว่าเมื่อปริมาณ พอลิ(เอทิลีนไกลคอล) เพิ่มขึ้น พอลิเมอร์ผสมมีสมบัติชอบน้ำมากขึ้น จึงให้ค่ามุมสัมผัสที่ต่ำลง อย่างไรก็ตาม ค่ามุมสัมผัสจะมากขึ้น เมื่อพอลิเมอร์เกิดการ เชื่อมขวางระหว่างโมเลกุล และมีสมบัติไม่ชอบน้ำมากขึ้นตามดัชนีการเชื่อมขวางที่เพิ่มขึ้นDownloads
Published
2014-02-25
Issue
Section
บทความวิจัย (Research article)