การเลือกผังสายการผลิตด้วยวิธีการจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษา กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปกระจก
Abstract
อุตสาหกรรมแปรรูปกระจกแห่งหนึ่งมีความต้องการปรับเพิ่มกำลังการผลิตและปรับปรุงสายการผลิต ด้วยการติดตั้งเครื่องจักรใหม่และปรับย้ายตำแหน่งห้องประกบ-อัดมือและห้องประกบลายผ้าและวัสดุพิเศษ ขั้นแรกทางทีมวิจัยได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือตามหลักการ Plant layout โดยใช้แผนภูมิความสัมพันธ์ในการวิเคราะห์เบื้องต้นและได้ผังใหม่ห้องละ 2 แบบที่ต่างกันตรงตำแหน่งของโต๊ะลบคม โต๊ะประกบ และ ตู้ Climate box ซึ่งส่งผลให้ระยะทางการไหลของวัสดุและการเดินทางของพนักงานต่างกัน ในขั้นสุดท้ายทางทีมวิจัยได้ประยุกต์ใช้การจำลองสถานการณ์โดยพิจารณาปัจจัยเพิ่มเติมด้านความแตกต่างของสัดส่วนผลิตภัณฑ์ เวลาและจำนวนพนักงานที่ใช้ในการผลิต ทั้งนี้มีดัชนีชี้วัดเพิ่มเติมในด้านระยะเวลาการผลิตและจำนวนที่ผลิตได้ โดยพบว่าห้องประกบ-อัดมือควรใช้ผัง M2 เพราะสามารถลดพนักงานได้ 1 คน และผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ส่วนห้องประกบลายผ้าและวัสดุพิเศษควรใช้ผัง F1 เพราะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จก่อนเข้ากระบวนการอัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 และมีเวลารอคอยลดลงร้อยละ 29Downloads
Published
2014-02-25
Issue
Section
บทความวิจัย (Research article)