การเตรียมและวิเคราะห์สมบัติของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์/เฟอร์โรฟลูอิด เพื่อใช้เป็นวัสดุป้องกันการคายประจุจากไฟฟ้าสถิต

Authors

  • ภาวิณี เจริญธนวงศ์
  • อัชญา เศรษฐิศักดิ์โก
  • รติพร ยอดสวาท
  • สุปราณี แก้วภิรมย์

Abstract

งานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์เฟอร์โรฟลูอิดโดยวิธีการตกตะกอนร่วมระหว่างไอออน (III) คลอไรด์ เฮกซะไฮเดรต และไอออน (II) คลอไรด์ เตตระไฮเดรต อัตราส่วน 2:1 ในสารละลายแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ และใช้เตตระเมทิล แอมโมเนียม-ไฮดรอกไซด์เป็นสารลดแรงตึงผิว พบว่าความหนืดของเฟอร์โรฟลูอิดที่สังเคราะห์ได้มีค่าเท่ากับ 6.5 cP โครงสร้างทางเคมีของอนุภาค Fe3O4 ในเฟอร์โรฟลูอิดถูกตรวจสอบโดยเทคนิคเอกซ์เรย์ ดิฟแฟรกชัน และฟูริเออร์ ทรานสฟอร์ม อินฟราเรด สเปกโทรสโคปี ลักษณะพื้นผิว การกระจายตัว และขนาดของอนุภาคของ Fe3O4 ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จากนั้นนำเฟอร์โรฟลูอิดที่สังเคราะห์ได้มาใช้เป็นสารตัวเติมนำไฟฟ้า ในการเตรียมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์/เฟอร์โรฟลูอิด คอมโพสิต โดยใช้ปริมาณเฟอร์โรฟลูอิด 0, 5, 10, 15 และ 20% w/w และใช้กลูตารัลดีไฮด์เป็นสารเชื่อมขวาง (0.5% w/w เทียบกับน้ำหนักของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์) ศึกษาสมบัติของคอมโพสิตที่เตรียมขึ้น ได้แก่ สมบัติเชิงกลด้วยการทดสอบแรงดึง สัณฐานวิทยา ความต้านทานไฟฟ้าเชิงพื้นผิว และการบวมตัวในน้ำ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นวัสดุป้องกันการคายประจุจากไฟฟ้าสถิต ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่า คอมโพสิตที่สังเคราะห์ได้มีสมบัติเชิงกล สัณฐานวิทยา สภาพต้านทานไฟฟ้าเชิงพื้นผิว และการบวมตัวในน้ำ เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของ Fe3O4 และคอมโพสิตที่เตรียมโดยใช้ปริมาณเฟอร์โรฟลูอิด 10% w/w เหมาะสมที่จะใช้เป็นวัสดุป้องกันการคายประจุจากไฟฟ้าสถิต

Downloads

Published

2014-02-25

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)