ผลของซิลิกาฟูมต่อสมบัติของวัสดุจีโอโพลิเมอร์จากเถ้าลอยกระบวนการเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบด

Authors

  • พัฒนพงศ์ ไพสิฐศรีสวัสดิ์
  • อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์

Abstract

เถ้าลอยที่ได้จากการเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized bed combustion, FBC) มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน มีรูพรุน และความเป็นผลึกค่อนข้างสูง เนื่องจากอุณหภูมิในการเผาถ่านหินไม่สูง (ประมาณ 900oC) นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมเป็นส่วนผสมปริมาณมากจึงไม่นิยมนำเถ้าลอย FBC เป็นสารปอซโซลาน ผสมกับปูนซีเมนต์ผลิตคอนกรีต งานวิจัยนี้จึงเสนอแนวทางใช้เถ้าลอย FBC ในการผลิตเป็นวัสดุจีโอโพลิเมอร์และเพิ่มความเป็นอสัณฐานและความว่องไวของเถ้าลอย FBC โดยผสมซิลิกาฟูมในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อเปลี่ยนปริมาณแคลเซียมที่มากเกินพอในเถ้าลอย FBC เป็นสารประกอบแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตที่ให้กำลังอัดแก่จีโอโพลิเมอร์  ซึ่งพบว่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างเถ้าลอย FBC กับซิลิกาฟูม (SF) คือ การแทนที่เถ้าลอย FBC ด้วยซิลิกาฟูมร้อยละ 3.75 โดยน้ำหนัก ทำให้ได้วัสดุจีโอโพลิเมอร์มีค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้น โดยค่ากำลังอัดที่อายุ 90 วัน มีค่าเท่ากับ 21.4 เมกกะปาสคาล

Downloads

Published

2014-02-25

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)