การศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และสารประกอบอะลูมิเนียมต่อการเกิดเอททริงไกต์ในวัสดุจีโอโพลิเมอร์จากเถ้าลอยกระบวนการเผาถ่านหินแบบฟลูอิดไดซ์เบด

Authors

  • อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์
  • ศิวานันท์ ไทยวิชญ์เจริญ

Abstract

เถ้าลอยจากกระบวนการเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบด (FBC) มีปริมาณแคลเซียมซัลเฟต (CaSO4) สูง เนื่องจากในขั้นตอนการเผามีการพ่นหินปูนเข้าไปเพื่อจับก๊าซ SOx ได้เป็นสารประกอบแคลเซียมซัลเฟต (CaSO4) ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับอะลูมินาในเถ้าลอย FBC ในสภาวะเบสเกิดเป็นสารประกอบแคลเซียมซัลโฟอะลูมิเนต (หรือเอททริงไกต์) ได้   งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่อการเกิดเอททริงไกต์ในวัสดุจีโอโพลิเมอร์จากเถ้าลอย FBC  นอกจากนี้ ยังปรับปรุงสมบัติของจีโอโพลิเมอร์โดยการเพิ่มสารประกอบอะลูมิเนียม  โดยการผสมเถ้าลอย FBC กับสารประกอบอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ สารละลายโซเดียมซิลิเกต และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์  เพื่อเปลี่ยนสารประกอบแคลเซียมในเถ้าลอยเป็นสารประกอบแคลเซียมอะลูมิเนตไฮเดรตและอะลูมิโนซิลิเกต ซึ่งให้กำลังแก่วัสดุจีโอโพลิเมอร์   ซึ่งพบว่าการใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 15 โมล่าร์ ไม่พบการเกิดเอททริงไกต์ และการใช้สารประกอบอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ไม่เกินร้อยละ 2.5 ของปริมาณเถ้าลอยในการผลิตจีโอโพลิเมอร์สามารถให้ค่ากำลังอัดที่อายุ 90 วันเท่ากับ 35 เมกกะปาสคาล  ในขณะที่การเพิ่มสารประกอบอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์เป็นร้อยละ 5 ทำให้เกิดสารประกอบโซเดียมอะลูมิเนตซึ่งมีผลต่อการค่ากำลังอัดที่ลดลง

Downloads

Published

2014-02-25

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)