การลดความสูญเสียในการทำงานของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ด้วยวิธีการประเมินผลทางการยศาสตร์: กรณีศึกษาในพื้นที่อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล (Working Loss Reduction of Para Rubber Plantation Farmers Using Ergonomics Assessment: A Case Study in Manung District, Stun Prov

Authors

  • วีรชัย มัฎฐารักษ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Keywords:

ความสูญเสีย, การเคลื่อนไหวร่างกาย, การยศาสตร์, เกษตรกรชาวสวนยางพารา, Waste, Body Movement, Ergonomics, Rubber Plantation Farmers

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการลดความสูญเสียในการทำงานของเกษตรกรชาวสวนยางพาราด้วยวิธีการประเมินผลทางการยศาสตร์ จากการศึกษาการทำงานของเกษตรกรพบว่าเกิดความสูญเสียในการทำงานจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในขั้นตอนการนำยางมานวดให้เป็นแผ่นบางซึ่งส่งผลให้มีปัญหาต่อสุขภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงได้ตรวจสอบและประเมินภาวะทางการยศาสตร์โดยใช้วิธีการ RULA และวิธีการ REBA ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการ RULA พบว่ามีคะแนนเท่ากับ 7 ซึ่งหมายถึงการมีปัญหาทางการยศาสตร์ที่ต้องได้รับการปรับปรุงการทำงานโดยทันที ในทำนองเดียวกันกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีการ REBA ที่พบว่ามีคะแนนเท่ากับ 11 ซึ่งหมายถึงการทำงานที่มีความเสี่ยงสูง จึงต้องการการตรวจสอบและปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานในทันที โดยหลังจากได้นำเสนอการออกแบบสร้างเครื่องนวดยางแผ่น ตลอดจนตรวจสอบและประเมินภาวะทางการยศาสตร์เบื้องต้น ด้วยวิธีการ RULA พบว่าค่าคะแนนลดลงจากเดิมเท่ากับ 7 เหลือ 3 สอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีการ REBA ที่พบว่าค่าคะแนนจากเดิมเท่ากับ 11 เหลือ 4 สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจก่อนและหลังการนำเสนอแนวทางการปรับปรุงการทำงาน พบว่าระดับความพึงพอใจเพิ่มขึ้น จากเดิมค่าเฉลี่ย 3.28 (ก่อนปรับปรุง) เป็นค่าเฉลี่ย 4.12 (หลังปรับปรุง) สรุปได้ว่าปัญหาทางการยศาสตร์ของเกษตรกรลดลงและความพึงพอใจในการทำงานเพิ่มขึ้นจากการนำเสนอแนวทางปรับปรุงการทำงาน

This research aims to study the working loss reduction of para rubber plantation farmers using Ergonomics Assessment. The study on farmer’s working found that their working loss caused by unnecessary in step of making a thin rubber sheet and it is affected to bad for health. In this study, The RULA and REBA technique were used to monitoring and assessment of ergonomics problems. The result of using RULA techniques showed that the mean score of problem was 7 which indicated that the ergonomic problem must be immediately corrected. Likewise using REBA techniques was found to have mean score of problem 11, indicating the high risk. This need to check and change gestures immediately. The design and constructions of rubber sheet machine as well as monitoring and assessment of ergonomics problems using RULA technique found that the mean score of problem was reduced from 7 to 3. Similarly, REBA technique showed that the mean score of problem was reduced from 11 to 4. The result of satisfaction assessment from pre and post improvement were increased score from 3.28 (pre-improvement) to 4.12 (post-improvement). This result indicated that this improvement program could reduce the ergonomics problems and increase satisfaction level.

 

Downloads

Published

2018-02-08

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)