การพัฒนาปล่องรังสีอาทิตย์โซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

อรุณยุพา บัวทรัพย์
จงจิตร์ หิรัญลาภ
ชัยพร สุภาหิตานุกุล
สุเมธ สถิตบุญอนันต์
โจเซฟ เคดารี

摘要

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษา ออกแบบ และสร้างปล่องรังสีอาทิตย์โซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ ปล่องรังสีอาทิตย์โซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในสภาพอากาศชื้นและร้อน และจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อสูงและกว้างแต่ไม่ลึกมาก เนื่องจากสัดส่วนเหล่านี้จะเพิ่มพื้นที่ผิวที่สามารถดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ได้สูงสุด และเพิ่มพื้นที่ผิวในการสัมผัสกับอากาศภายในปล่องรังสีอาทิตย์โซลาร์เซลล์ นิยามของคำว่าขนาดใหญ่ในการสร้างปล่องรังสีอาทิตย์ หมายถึงปล่องรังสีอาทิตย์ที่มีความสูง สามารถนำโมดูลที่สร้างขึ้นต่อกันขึ้นไปให้มีความสูงขนาดใหญ่ได้ โดยมุ่งเน้นการใช้งานกับอาคารในแนวตั้ง การทดลองใช้โครงสร้างที่หันหน้าไปทางทิศใต้ขนาด 0.40 x 0.30 เมตร สูง 4.60 เมตร โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอน จำนวน 4 แผง แต่ละแผง มีกำลังไฟฟ้า 12 วัตต์ แรงดันไฟฟ้า 17.5 โวลต์ มีการวัดประสิทธิภาพทางความร้อนและไฟฟ้า ที่ผลิตได้จากแต่ละแผง ผลการทดลอง พบว่า อุณหภูมิของอากาศภายในปล่องรังสีอาทิตย์สูงสุด ที่ระดับความสูง 3.40 เมตร โดยมีอุณหภูมิสูงสุดที่ 34.15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของแผงโซลาร์เซลล์สูงสุด อยู่ที่ 45.10 องศาเซลเซียส ที่ระดับความสูง 3.40 เมตร ในด้านของการผลิตไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ ที่อยู่ตำแหน่งต่ำสุดที่ระดับ 1.20 เมตร ผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุด ที่ 5.43 วัตต์ ในเวลา 15.00 นาฬิกา เนื่องจากมีอุณหภูมิต่ำกว่าแผงอื่น ๆ ความเร็วเฉลี่ยของอากาศภายในปล่องรังสีอาทิตย์ วัดได้ที่ 0.97 เมตรต่อวินาที ในช่วงเวลา 12.00 นาฬิกา จากผลทดสอบแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ปล่องรังสีอาทิตย์โซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับการประยุกต์ใช้ในอาคาร เพื่อผลิตไฟฟ้า ลดความร้อน และช่วยในการระบายอากาศ

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
栏目
Research Articles

参考

Somsila P, Kumdee C, Teeboonma U. Factors affecting air conditioning inside winter dwelling. Proceedings of the 8th Rajamangala Surin Conference; 2016 Dec 22-23 ; Rajamangala University of Technology Isan Surin campus, Surin. Thailand; 2016.

Sripisuttitham S, Bunnag T, Chantawong P. Investigation of thermal performance of photovoltaic roof solar collector with phase change material. Journal of Energy and Environment Technology. 2021;8(1):11-21.

Khedari J, Rachapradit N, Hirunlabh J. Field study of performance of solar chimney with air-conditioned building. Energy. 2003;28(11):1099-114.

Thantong P, Khedari J, Chantawong P. Study of solar–PCM walls for domestic hot water production under the tropical climate of Thailand. Materials Today: Proceedings. 2018;5(7):14880-5.

Khedari J, Boonsri B, Hirunlabh J. Ventilation impact of a solar chimney on indoor temperature fluctuation and air change in a school building. Energy and buildings. 2000;32(1):89-93.

Shi L, Zhang G, Yang W, Huang D, Cheng X, Setunge S. Determining the influencing factors on the performance of solar chimney in buildings. Renewable and Sustainable Energy Reviews. 2018;88:223-38.

Tongbai P. Ventilation and cooling in building using solar chimney system. [dissertation]. Nakhonratchasima: Suranaree University of Technology; 2015.

Chantawong P, Ungkoon Y, Suptawon W, Maiteejit C, Sangartid T. Study of a solar cells chimney wall with house model under hot humid climate of Bangkok. Journal of Energy and Environment Technology. 2014;1(1):11-9.