การศึกษาการหมักเอทานอลจากน้ำตาลรีดิวซ์จากการย่อยสลายฟางข้าวด้วยเอนไซม์เชื้อรา T. reesei

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ผ่องศรี ศิวราศักดิ์

摘要

การศึกษากระบวนการหมักเอทานอลจากน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้จากการย่อยสลายฟางข้าวด้วยเอนไซม์เชื้อรา T. reesei TISTR 3080 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่ใช้ในการย่อยสลายฟางข้าวด้วยเอนไซม์เชื้อรา เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดและสภาวะที่ใช้ในการหมักสภาพฟางข้าวได้ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2 โมลาร์แยกเซลลูโลสในฟางข้าว ซึ่งทำให้เพิ่มเซลลูโลสจาก 65.35 กรัมต่อกรัมสับสเตรทเป็น 99.34 กรัมต่อกรัมสับสเตรท จากนั้นใช้เซลลูโลสในอัตราส่วน 1 หน่วยน้ำหนักต่อ 20 หน่วยปริมาตรของอาหารเหลวย่อยสลายด้วยเอนไซม์เชื้อราด้วยวิธีการเขี่ยเฉพาะเชื้อราผสมกับอาหารเหลวด้วยแท่งแก้ว ปรับค่า pH เริ่มต้นเป็น 5.3 เขย่าที่อุณหภูมิห้อง (30 degree Celsius) ด้วยอัตราเร็ว 120 รอบต่อนาที นาน 1 ชั่วโมง ทิ้งไว้ 1 วัน พบเอนไซม์จากเชื้อราสามารถเปลี่ยนเซลลูโลสเป็นน้ำตาลรีดิวซ์เฉลี่ยเท่ากับ 0.2771 กรัม ต่อกรัมสับสเตรท หรือคิดเป็นประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของฟางข้าว ค่า pH ที่วัดได้เท่ากับ 7.4 สำหรับการทดลองเพื่อศึกษาสภาวะที่ใช้ในการหมักเอมานอลจากน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้จากฟางข้าว โดยนำยีสต์ S. Cerevisiae TISTR 5339 มาเลี้ยงในน้ำตาลรีดิวซ์ในอัตราส่วนความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร สภาวะของการหมักทำโดยการปรับค่า pH เริ่มต้นเป็น 5 เขย่าที่อุณหภูมิห้อง (31 degree Celsius) ด้วยอัตราเร็ว 120 รอบต่อนาที พบว่า ปริมาณเอทานอล ที่ได้สูงสุดเท่ากับ 0.1307 กรัมต่อกรัมสับสเตรทและใช้เวลาในการหมักเพียง 1 วัน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

[1] Siwarasak Pongsri.2002. "Experimental Research of Ethanol Fermentation from
Rice Straws and Bagasse" in ISAF XVI International Symposium on Alcohol Fuels The Role of Alcohol Fuels in Meeting the Energy, Environmental and Economic Needs of the 21 s Century.pp. 2002-FT-17. Bangkok: National Metal and Materials Technology Center (MTEC).
[2] Tsao, G.T., Ladish, M.R., Ladish, C.,HUS, T.A., Dale, B. and Chout, T.Ethanol and Chemical from Cellulose.Processing of the International Symposium: Alternative sources of energy for agriculture. Food and Fertilizer Technology Center for the Asian and Pasific Region, 1985, pp. 117-183.
[3] Austin, George T. 1984. Chemical Process Industries. 5 th ed. Singapore:McGraw-Hill.
[4] Sitton, O.C., Foutch, G.L., Book, N.L. and Gaddy, J.L. 1979."Ethanol from agriculture residues." Process Biochemistry. Vol.4 no. 9:7-10.