ผลกระทบของอุณหภูมิที่ใช้ในการอบดินเพื่อหาค่าปริมาณความชื้นสำหรับดินหัวหิน
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
ปริมาณความชื้นของดิน เป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิคโดยสามารถหาได้จากการทดสอบในหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือ วิธีการใช้ตู้อบ ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานและยอมรับกันโดยทั่วไป โดยใช้อุณหภูมิในการอบดินให้แห้งที่ 105[plusmn]5 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 16 ชั่วโมง หรือจนกระทั่งดินแห้ง ในการศึกษาครั้งนี้ได้แปรผันอุณหภูมิที่ใช้ในการอบที่ 105, 125, 150, 175, 200 และ 220 องศาเซลเซียส กรณีตัวอย่างดิน 50 พื้นที่ซึ่งกระจายทั่วเทศบาลเมืองหัวหินจำนวน 621 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างค่าปริมาณความชื้นและค่าการสูญเสียน้ำหนักจากการอบดิน มีลักษณะเป็นเชิงเส้นต่อกัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 1 ตามหลักการของสมการถดถอยเชิงเส้น และสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความชื้นและอุณหภูมิที่ใช้อบได้ โดยแบ่งกลุ่มตามความใกล้เคียงของปริมาณความชื้นเป็น 7 กลุ่มพื้นที่ ผลจากการวิเคราะห์สามารถสร้างเส้นกราฟปรับแก้ค่าปริมาณความชื้นที่อบด้วยอุณหภูมิที่สูงกว่า 105 องศาเซลเซียสได้ ซึ่งช่วยให้สามารถร่นระยะเวลาในการหาค่าปริมาณความชื้นสำหรับดินหัวหินด้วยวิธีการใช้ตู้อบได้
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Frontiers in engineering innovation research has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
参考
ชูศักดิ์ ดีรีรัตน์, 2547. การศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและปริมาณอินทรีย์สารต่อการประมาณค่าปริมาณความขึ้นของดิน. การประชุมสัมมนาทางวิชาการสถาบันเทคโนโอยีราชมงคลครั้งที่ 20.โรงแรมอมรินทร์ลากูน พิษณุโลก.
American Society for Testing and Materials, 2002.Standard No. D 2974-87, Standard Test Method
for Moisture, Ash, and Organic Matter of Peat and Other Organics Soil. Annual Book of ASTM
Standards, Vol. 04.08, Soil and Rock(I).pp. 360-362. West Conshohocken: PA.
James K. Mithell. 1993. Fandamentals of Soil Behavior, John Wiley & Son, Inc. New York,U.S.A.