ผลกระทบจากความล้าของตัวปรับความตึงโซ่ราวลื้นแบบสปริงขด

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

อภิสิทธิ์ ประมูลสาร
พิพัฒน์ ปราโมทย์

摘要

ตัวปรับความตึงโซ่ราวลิ้นแบบสปริงขดซึ่งทำหน้าที่สร้างแรงกดให้กับโซ่ราวลิ้นและต้องรับแรงกดที่มีทิศทางตรงกันข้าม อันเนื่องมาจาการกระพือของโซ่ซึ่งเรียกแรงที่กระทำสลับไปมาแบบนี้ว่าแรงกระทำแบบสลับต่อเนื่องและภายหลังจากการใช้งานไปได้นานระยะหนึ่ง ความล้าที่เกิดขึ้นกับสปริงขดจะส่งผลให้ตัวปรับความตึงโซ่ไม่สามารถรักษาสภาพความตึงของโซ่ราวลิ้นทำให้เกิดปัญหาเสียงดังผิดปกติและความเสียหายเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบตัวปรับความตึงโซ่ที่มีการใช้งานในระยะทางที่แตกต่างกัน เพื่อหาระยะทางที่ตัวปรับความตึงโซ่สามารถต้านทานต่อแรงกดไว้ได้นานที่สุด โดยผลที่ได้คือระยะทางระหว่าง 0-5000 กิโลเมตร ซึ่งมีค่าที่สัมพันธ์กับการใช้งานจริงที่จำนวนการเกิดปัญหาของตัวปรับความตึงโซ่ส่วนใหญ่จะเกิดที่ระยะทาง 5,000 กิโลเมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากการใช้งานจริง นอกจานี้ยังพบว่าผลของความล้าจากการใช้งานทำให้ความสามารถในการต้านทานแรงกดของตัวปรับความตึงโซ่มีค่าลดลง

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

บริษัทเอ.พี่สอนค้ำจำกัด, 2552. คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรนายช่างระดับ 3.

ขอนค้ำมอเตอร์, 2549. คู่มือฝีกอบรมทักษะด้านบริการและความรู้เทคนิค.

บริษัทเอ.พี.ฮอนด้า จำกัด, 2552. รายงานผลการวิเคราะห์ปัญหาเทคนิค.

บริษัท เอ.พี.ฮอนด้ำ จำกัด, 2552. รายงานผลการสำรวจอัตราการซ่อมแก้ปัญหาเทคนิค.

บริษัทชิกมาร์โซลูชั่น จำกัด, 2552. คู่มือการอบรมหลักสูตรการวิคราะห์หาอายุของโครงสร้างที่เกิดความล้า.

Bruno Kaiser , Christina Berger. Recent finding to the fatigue properties of helical springs, 2007.

Seon Jim Kim , Sung Hwan Yoon . On estimate of probability distribution for fatigue crack growth life, 2007.

สุรเดชจิวภรณ์สวัสดิ์,นายอกรักษ์ กุนาทน , 2552 เครื่องมือทดสอบความล้ำของตัวปรับตั้งความดึงโซ่ราวลิ้น, ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี