การศึกษาการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนจากผ้าใยประดิษฐ์ เพื่อนำไปใช้ผลิตในเชิงพาณิชย์

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สมประสงค์ ภาษาประเทศ
ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย
สมนึก สังขหนู
ฉัตรชัย ศุภพิทักษ์สกุล
บิณฑสันต์ ขวัญข้าว
ชูพงศ์ ไชยหลาก

摘要

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างผ้าที่เหมาะสมในการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนจากผ้าใยประดิษฐ์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยอ้างอิงผลการทดสอบตามมาตรฐาน NIJ ขั้น 3A [4] นอกจากนั้นมีการศึกษาสร้างชุดตรวจวัดแรงกระแทกสำหรับทดสอบเสื้อเกราะกันกระสุน เส้นใยที่ใช้ศึกษา ได้แก่ พอลิเอสเทอร์และพอลิเอทิลีนชนิดความแข็งแรงสูงโครงสร้างผ้าที่ใช้ศึกษาได้แก่ ผ้าทอ ผ้าถักแนวเส้นยืนแบบมีเส้นพุ่ง และผ้าไม่ทอ


ในการดำเนินงานมีการผลิตผ้าทอลาย 2x2 Basket ใช้เส้นด้ายพอลิเอสเทอร์ ทั้งเส้นด้ายยืนและเส้นด้ายพุ่ง จำนวนเส้นด้ายยืนเท่ากับ 32 เส้น/นิ้ว จำนวนเส้นด้ายพุ่งเท่ากับ 64 เส้น/นิ้ว ผ้าทดนี้ถูกนำไปผลิตแผ่นเกราะที่มีน้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่ประมาณ 22.79 กิโลกรัม/ตารางเมตร เพื่อทดสอบยิงในสภาวะเปียกตามาตรฐาน NIJ ระดับ 34[A] สำหรับชุดตรวจวัดแรงกระแทกสำหรับทดสอบเสื้อเกราะกันกระสุนถูกออกแบบให้ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ส่วนรับแรงกระแทก 2. ทรานสดิวเซอร์วัดแรง 3. ส่วนรับสัญญาณไฟฟ้าจากทรานสดิวเซอร์ และ 4. ส่วนบันทึกค่า ประมวลผล และแสดงผลในการทดสอบนั้นใช้เครื่องมือนี้เป็นวัสดุหนุนแทนดินน้ำมันตามมาตรฐาน NIJ เพื่อทดสอบการยิง ระดับ 2A[4] กับแผ่นเกราะที่ผลิตจากผ้าทอ ผ้าถักแนวเส้นยืนแบบมีเส้นพุ่ง และผ้าไม่ทอ โดยแผ่นเกราะทั้ง 3 ชนิดมีน้ำหนักต่อหน่วยต่อหน่วยพื้นที่ประมาณ 13.88 กิโลกรัม/ตารางเมตร สำหรับผ้าถักแนวเส้นด้ายยืนแบบมีเส้นพุ่งนั้นผลิตโดยใช้เส้นด้ายยืนและพุ่งพอลิเอสเทอร์สร้างห่วงเพื่อยึดเส้นด้ายยืนและพุ่งไว้ ผ้าทอ 3 มิติ ใช้เส้นด้ายยืนและพุ่งพอลิเอสเทอร์ ในขณะที่ผ้าไม่ทอนั้นใช้เส้นด้ายพอลิเอทิลีน ผลิตแผ่นเส้นใย

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
ภาษาประเทศ ส. ., อมรศักดิ์ชัย ท. ., สังขหนู ส. ., ศุภพิทักษ์สกุล ฉ. ., ขวัญข้าว บ. ., & ไชยหลาก ช. . (2010). การศึกษาการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนจากผ้าใยประดิษฐ์ เพื่อนำไปใช้ผลิตในเชิงพาณิชย์. Frontiers in Engineering Innovation Research, 1, 19–27. 取读于 从 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242171
栏目
Research Articles

参考

สมประสงค์ ภาษาประเทศ และคณะ การศึกหาการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนจากผ้าใยประดิษฐ์ เพื่อนำไปใช้ผลิตในเชิงพานิชย์ ระยะที่1 ศึกษาส้นไขและโกรงสร้างที่เหมาะสมในการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุน รายงานการวิจัยพัฒนา Technical Textiles สนับสนุนทุนวิจัยโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอประจำปี 2550

นะราเฉลิมกลิ่น และ ฉัตรชัยศุภพิทักย์สกุล"การออกแบบทรานสดิวเซอร์วัครงโดยใช้ฮอลเอ็ฟเฟคทเซ็นเซอร์", การประชุมเครือข่ายวิชาการ วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่1 คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัญบุรี จังหวัดปทุมธานี, 19-21 พฤศจิกายน 2551: GEN18.

นะราเฉลิมกลิ่น และฉัตรชัยศุภพิทักษ์สกุล,"การประยุกต์ใช้ฮอลเอ็ฟฟคทเซ็นเซอร์ในการออกแบบทรานสคิวเซอร์วัดแรง", การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 7 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, 21-22 พฤษภาคม 2552: PEG70R 118.

NIJ Standard-0101.06, Ballistic Resistance of Armor, U.S. Department of Justice, 2005.

Hearle J.W.S, Atlas of fibre fracture and damage to textiles, Woodhead Publishing,England, 1998

Wilson, J, Handbook of textile design,Woodhead Publishing, England, 2001.

Lewin, M, Handbook of Fiber Science and Technology, Volume 3, Marcel Dekker, New