การเพิ่มผลผลิตสายการผลิตเตาเหล็กหล่อกรณีศึกษา บริษัท ที เอ็ม เอ็น แมชชีนแอนด์ฟราวน์ดรี้ จำกัด
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มผลผลิตสายการผลิตเตาเหล็กหล่อจากปัจจุบัน 5,000 ชุดต่อเดือนเป็น 8,000 ชุดต่อเดือนตามความต้องการของลูกค้าที่สูงขึ้นโดยการกำจัดและลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ต่อตัวผลิตภัณฑ์ ได้แก่ งานที่เป็นจุดคอขวด ความสูญเปล่าเนื่องจากการรอคอย การเคลื่อนไหวที่เกินจำเป็น งานเสีย งานที่ต้องนำกลับมาทำใหม่รวมถึงการลดระยะทางและเวลาในการขนย้ายวัตถุดิบ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือควบคุมคุณภาพทั้ง 7 สำหรับการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เทคนิคการจัดสมดุลสายการผลิต การปรับปรุงผังโรงงาน การศึกษาการทำงาน และหลักการ ECRS สำหรับปรับปรุงสายการผลิต ผลการดำเนินการวิจัย พบว่าสามารถควบคุมรอบเวลาการผลิต ไม่ให้เกินจังหวะความต้องการของลูกค้าได้ทุกสถานีงาน ลดจำนวนสถานีงานได้ 14 สถานีคิดเป็น 40% ลดจำนวนพนักงานได้ 14 คน คิดเป็น 40% ลดรอบเวลาการผลิตรวมลง 17.55 นาที คิดเป็น 64.33% สัดส่วนของงานเสียเฉลี่ยทุกสายการผลิตเหลือ 0.16% ผังโรงงานที่ปรับปรุงใหม่ สามารถลดระยะทางการขนย้ายวัสดุได้ 253.5 เมตรคิดเป็น 72.53% โดยสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 8,000 ชุดต่อเดือน ดัชนีผลิตภาพแรงงานสูงขึ้น 69.23% ดัชนีผลิตภาพวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น 3.85% ดัชนีผลิตภาพรวมเพิ่มขึ้น 13.04% และสามารถกำหนดเวลามาตรฐานในการทำงานให้กับพนักงานได้
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Frontiers in engineering innovation research has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
参考
สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการศึกษาเปรียบเทียบเชิงนโยบายและเทคนิคการใช้แก๊ลปิโตรเลียมเหลว (LPG)[ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก : Available: http://www.eri.chula.ac.th/m2-resdbm.htm, (11 ธันวาคม 2553).
พรายพล คุ้มทรัพย์. ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือน[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : Available
http:// www.onopen.com/econtu/10-08-11/5517,(5 พฤศจิกายน 2553)
วันชัย ริจิรวนิ, 2545. การศึกษาการทำงาน หลักการและกรณีศึกษา. กรุงเทพง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิกรพนธ์ พิทักษ์, 2552. การศึกษากระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิต กรณีศึกษา อุดสาหกรรมล้าง
ขวด. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และระบบคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ดวงรัตน์ ชีวปัญญโรจน์ และศุภศักดิ์ พงษ์อนันต์.2544. ความสูญเสีย 7 ประการ (7 Waste).
กรุงเทพๆ: สถาบันเพิ่มผลผลิตเห่งชาติ.
สถาบันพิมผลผลิตแห่งชาติ. เครื่องคุณภาพ ชนิด(7 QC Tools). [ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก :http;//youth.ftpi.or.th (19 ตุลาคม 2563)
ประเสริฐ อัครประถพงศ์.7 ขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพ PDCA สถาบันพัฒนารัฐวิถาหกิจ
ขนาดย่อม. [ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก :http://www.ismed.or.th/SME (24 ตุลาคม 2553).
คมสัน จิระภัทรศิลป, การหาเวลามาตรฐาน (Standard Time), [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :Available :http://www.pteonline.org/img-lib/staff/file/komson_000822.pdf(12 ธันวาคม 2553)
Cable, J. and Fitzroy, F. R., 1980. Cooperation and Productivity: Some evidence from
West German Experience, Economic Analysis and Workers Management.14, 2: 163-180.
Somnasang S.,1980 Design of A Line Balancing in An Automobile Assembly Factory. Thesis AIT Bangkok Thailand.
Miltenberg, J. and Sparling, D., 1995.Optimal solution algorithms for the U-line balancing problem. Working Paper, Hamilton : McMaster University.