การลดสัดส่วนของเสียในกระบวนการฉีดพลาสติก โดยใช้การออกแบบการทดลองกรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องซักผ้า
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดสัดส่วนของเสียในกระบวนการฉีดพลาสติกตัวถังเครื่องซักผ้า (Tub) ที่มีของเสียเกิดขึ้น 4.29% โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลของเสียตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 พบว่าของเสียที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นฟองอากาศบริเวณผิวชิ้นงาน 61.1 % จากของเสียทั้งหมด การหาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสียได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทำไม-ทำไมในการวิเคราะห์ ซึ่งพบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดของเสีย คือ ความดันภายในกระบอกสูบและอุณหภูมิทางเข้าแม่พิมพ์ (Hot Runner) ซึ่งความดันภายในกระบอกสูบ ประกอบด้วย 5 ช่วงความดันสำหรับการฉีด 1 ชิ้นงานได้แก่ P1 อยู่ที่ 35 และ 45 MPa P2 อยู่ที่ 45 และ 55 MPa P3 อยู่ที่ 90 และ 95 MPa P4 อยู่ที่ 65 และ 75 Mpa P5 อยู่ที่ 60 และ 65 MPa และอุณ๓มิบริเวณทางเข้าแม่พิมพ์ (Hot Runner) อยู่ที่ 270 และ 280 degree Celsius จากการที่กระบวนการผลิตที่มีข้อจำกัดทางด้านวัตถุดิบ ในการหาปัจจัยที่เหมาะสมจึงหาโดยใช้ออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลแบบ 2[superscript k]1 แบบ 1 ซ้ำนำมาระดับปัจจัยที่เหมาะสม ซึ่งมีทั้งหมด 6 ปัจจัย จึงมีการทดลองทั้งสิ้น 64 การทดลอง จากผลการศึกษาพบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ ความดันอยู่ที่ค่า 45, 45, 90, 65, 70 MPa ตามลำดับ และอุณหภูมิบริเวณทางเข้าแม่พิมพ์อยู่ที่ 280 degree Celsius เมื่อทำการทดลองเพื่อยืนยันผลการวิจัย โดยนำค่าระดับปัจจัยไปใช้จริงในกระบวนการผลิตเครื่องซักผ้าในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 พบว่า สัดส่วนของเสียจากเดิม 2.62% ลดลงเหลือเพียง 2.02%
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Frontiers in engineering innovation research has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
参考
ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้พระนครเหนือ.
[2] Mok, Kwong and Lau, 1998 "An intelligent hybrid system for initial process parameter setting of injection moulding," International Journal of Production Research 38,17 : 4565-4576.
[3] Hitoshi Ogura, 2550. Why Why Analysis เทคนิคการวิเคราะห์อย่างถึงแก่นเพื่อปรับปรุงสถาน
ประกอบการ. กรุงเทพง:สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
[4]ปารเมศ ชุติมา. 2545. การออกแบบการทดลองทางวิศวกรรม.กรุงเทพง:สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
[5] Balasubramanian, V. and Guha, B., 1999"Assessment of some factors affecting fatigue endurance of welded cruciform joints using statistical techniques," International Jounal of Fatigue 21:873-877.
[6] Lanzon, J,, Cardew-Hall, M. and Hodgson, P. 1998 "Effect of Boundary Lubricant Regimes in Sheet Metal Forming," Processding of Materials 98.:239-246.
[7] ชุติมา ราชพิทักษ์, 25ร1, การลดของเสียจากกระบวนการผลิตเเบบแมนชั่นนิ่ง โดยการประยุกต์ใช้การ
ออกแบบการทดลอง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[8] Montogomery, D.C., 2005. Design and Analysis of Experiment. The United State of America: John Wiley & Sons, INC.
[9] ศิริลักษณ์ สูจิวัฒนารัตน์, 2553 การปรับปรุงความสามารถของกระบวนการพ่นเคลือบเครื่องสุขภัณฑ์
โดยการประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง.วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.