ผลกระทบของความละเอียดของวัสดุ ต่อค่าการอัดตัวและปฏิกิริยาปอซโซลานของแรงดึงคอนกรีต
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงผลกระทบของความละเอียดของวัสดุ ต่อค่าการอัดตัวและปฏิกิริยาปอซโซลาน ของแรงดึงคอนกรีต โดยใช้วัสดุแทนที่ปูนซีเมนต์ 3 ชนิด คือตะกอนประปา ทรายแม่น้ำ และเถ้าถ่านหิน โดยนำมาบดให้มี 3 ขนาด คือมีขนาดน้ำหนักค้างบนตะแกรงเบอร์ 325 ร้อยละ 5, 13.5 และ 22.5 ตามลำดับ นำไปใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ ในอัตราร้อยละ 10 และ20 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และทดสอบแรงดึงที่อายุ 7, 28 และ 60 วัน ตามลำดับ โดยวิธีทดสอบแรงดึงโดยตรง ผลการทดลองพบว่าขนาดของอนุภาคที่ต่างกัน 3 ขนาด โดยที่ขนาดเล็กสุดจะให้ค่าแรงดึงสูงกว่าขนาดที่ใหญ่กว่า เนื่องจากการแทนที่ปูนซีเมนต์ ในปริมาณร้อยละที่เท่ากันแต่มีขนาดของความละเอียดแตกต่างกัน ทำให้ค่าแรงดึงที่เกิดจากการที่อนุภาคขนาดเล็กจะแทรกอยู่ช่องว่างของมอร์ต้า มีการจัดเรียงตัวที่เหมาะสมมากกว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ค่าแรงดึงที่เกิดจากอนุภาคขนาดเล็กมีค่ามากกว่าค่าแรงดึงที่เกิดจากอนุภาคขนาดใหญ่ สำหรับการใช้เถ้าถ่านหินที่มีขนาดเล็กจะให้ผลของปฏิกิริยาปอซโซลานต่อค่าแรงดึงสูงกว่าการใช้เถ้าถ่านหินขนาดใหญ่ และการแทนที่มากขึ้นมีผลต่อปฏิกิริยาปอซโซลานที่ลดลง เนื่องจากการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าถ่านหินที่มากขึ้น ทำให้ปริมาณปูนซีเมนต์ลดน้อยลง มีผลทำให้การทำปฏิกิริยาไฮเดรชั่นและปฏิกิริยาปอซโซลานลดลงด้วย ส่งผลให้ค่าแรงดึงจากปฏิกิริยาปอซโซลานแทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 10 มีค่ามากกว่าร้อยละ 20
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Frontiers in engineering innovation research has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
参考
นิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[2] รวัชชัย พลรักษ์, ศรายุทธ เที่ยงแท้, รณชัยรุกขวัฒน์, ฐิติกร แก้วประชา, 2556.การนำตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปามาใช้เป็นส่วนผสมในการทำคอนกรีตกำลังสูงสำหรับงานคอนกรีตสำเร็จรูป.ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[3] คีร์ติกร อินทรักษ์, ณัฐวุฒิ หมู่ใหญ่, นัฐ พงศ์หลสุวรรณ, ปฐมพงษ์ โสภา, 2556.การนำตะกอนประปามาใช้เป็นส่วนผสมคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[4] เรื่องรชดิ ชีระโรจน์, จตุพล ตั้งปกาศิต,รศ.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล และ ไกรวุฒิเกียรติ โกมล, 2546. "ผลกระทบของขนาดอนุภาคเถ้าถ่านหินแม่เมาะต่อดัชนีกำลังมอร์ต้าร์," วารสารวิจัยและพัฒนามจร.ปีที่. 26, ฉบับที่. 3,: 295 - 310.
[5] จตุพลตั้งปกาศิต, แสวงทรงหมู่,ชัย จาตรพิทักษ์กุล และ ไกรวุฒิ เกียรติโกมล,2548 "การศึกษาค่าดัชนีกำลังของมอร์ต้าร์ที่เกิดจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นการอัดตัวของอนุภาค และปฏิกิริยาปอซโซลานของเถ้าแกลบ-เปลือกไม้และเถ้าปาล์มน้ำมัน," วารสารวิจัยและพัฒนา มจร, ปีที่. 28,ฉบับที่. 4, :465-476:
[6] จตุพล ตั้งปกาศิต, แสวง ทรงหมู่, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล และ ไกรวุฒิ เกียรติโกมล,2546 "การศึกษาผลกระทบของการอัดตัวของอนุภาคต่อค่าดัชนีกำลังของมอร์ต้าร์ตามมาตราฐาน ASTM C 618โดยใช้ทรายแม่น้ำบดละเอียด,"วารสารวิจัยและพัฒนา มจร, ปีที่. 30, ฉบับที่. 1,:141- 151.