คุณภาพการบริการของการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา กรณีศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มทร.ธัญบุรี โดยการใช้เทคนิค SERVQUAL-TRAN
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจการบริการของการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการที่ได้รับจริงของนักศึกษาโดยการใช้เทคนิค SERVQUAL-TRAN ซึ่งผู้วิจัยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 99 คน จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการนักศึกษามีระดับความพึงพอใจต่ำ โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องปรับปรุงเป็นอันดับแรก คือ1) เจ้าหน้าที่สอบถามความเห็นและข้อร้องเรียนจากนักศึกษา 2) การบริการนักศึกษาอย่างเพียงพอ 3) การตอบสนองต่อข้อคิดเห็นของนักศึกษา 4) ระบบการจัดการฐานข้อมูลนักศึกษา 5) หลักสูตรส่งเสริมวิธีการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อใช้สถิติค่า t-test ในการทดสอบค่าเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของความคาดหวังต่อคุณภาพบริการและความพึงพอใจของการบริการการจัดการเรียนการสอน พบว่า นักศึกษามีระดับความพึงพอใจในการรับบริการ 6 ประเด็น คือ 1) ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม 2) สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง 3) ผู้เรียนมีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4) อาจารย์ผู้สอนเตรียมทรัพยากรการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา 5) อาจารย์ตอบสนองต่อการขอความช่วยเหลือจากนักศึกษาทันที 6) นักศึกษาได้รับความใส่ใจเป็นรายบุคคลจากผู้สอน ตามลำดับ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Frontiers in engineering innovation research has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
参考
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. ทิศทางการอุดมศึกษาไทย.Available:http://blog.eduzones.com/drkrieng/7614(14 กันยายน 2554).
ธิดารัตน์ โชคสุชาติ, 2553.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ,ฉบับที่ 27, ปีที่ 14, หน้า 99-112.
สุธีร์ รัตนนาคินทร์. วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา และคน. Available:http://cuast.net/wpcontent/uploads/2011/01/บรรยาย-ผศ.สุธีร์.ppt (1 เมษายน 2555).
พิรุณ ศรีวุฒิชาญ. โอกาส AECโอกาสวิศวกรรมไทย.Available:http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=186528:-aec&catid=231:aec-news&Itemid=621#. Uv7ZGmJ_uzw (1 เมษายน 2555).
Parasuraman,A.,Berry,L.L.,andZeithaml,V.A.(1991). Refinement and Reassessment of the SERVQUAL Scale. Journal of Retailing. 67(4).420-450.
Chong,C,and Kee Ng,K. Time and Timeing in Service Quality:A Study of an Education Institution. Sasin Journal of Management,7(Number 1).
มุกดาฉาย แสนเมือง, 2547.การศึกษาเพื่อระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของการบริการทางการศึกษาตามมุมมองของผู้เรียนและผู้สอนกรณีศึกษาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม.งานวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม .
สุกัญญา อิ่มลิ้มทาน, 2553.ศีกษาคุณภาพบริการของสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษา.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
East,J. Student as Customers:International student perception of educational services as La Trobe University. La Trobe University Unpublished Masters Thesis, University New England Armidale,NSW2351,Australia.
Febriana.W., “Design of Education Service Quality Improvement of Airlangga University by Applying Quality Function Deployment (QFD) Model,”Service Systems and Service Management, 2008 International Conference on (Electronic), 2008, pp. 1-6.Available: IEEE (4 April 2011).
ภคพล ภุมรานนท์ , 2548 .การศึกษาเชิงประจักษ์การส่งมอบคุณภาพบริการระหว่างความ คาดหวังและการรับรู้ผลลัพธ์การบริการของนักศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนใน เขต กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.