ผลกระทบของการมีแผ่นพื้นต่อเส้นโค้งการทรุดตัวกับเวลาของชั้นดินเหนียวอ่อนที่ถูกปรับปรุง ด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์แบบไม่หยั่งลึก

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ศุภสิทธิ พงศ์ศิวะสถิตย์
สมพร มั่นใจ
สุธี ปิยะพิพัฒน์

摘要

แบบจำลองการทดสอบที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.45 เมตร สูง 1.00 เมตร ถูกนำมาใช้ศึกษาพฤติกรรมการยุบอัดตัวคายน้ำของชั้นดินเหนียวอ่อนเสริมด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์แบบไม่หยั่งลึก ทั้งแบบมีและแบบไม่มีแผ่นพื้นดินซีเมนต์บนผิวดิน เพื่อตรวจสอบถึงผลกระทบของการมีแผ่นพื้นดินซีเมนต์ที่มีผลต่อเส้นโค้งการทรุดตัวกับเวลา ทดสอบ 2 กรณี ได้แก่ กรณีไม่มีแผ่นพื้นดินซีเมนต์และกรณีมีแผ่นพื้นดินซีเมนต์หนา 25 เซนติเมตร ดินที่นำมาทดสอบเป็นดินเหนียวกรุงเทพฯ มีขั้นตอนการทดสอบด้วยกัน 3 ขั้นตอนดังนี้ 1)การทำชั้นดิน 2)การใส่เสาเข็มดินซีเมนต์ 3)การทดสอบการยุบอัดตัวคายน้ำ โดยให้น้ำหนักกระทำรวมเท่ากับ 120 kPa ในทั้ง 2 กรณี ส่วนค่าพารามิเตอร์ได้แก่ อัตราส่วนการปรับปรุงพื้นที่ และอัตราส่วนการปรับปรุงความลึกถูกกำหนดให้คงที่ ผลการทดสอบพบว่า ค่าการทรุดตัวกรณีมีแผ่นพื้นดินซีเมนต์หนา 25 เซนติเมตร จะน้อยกว่าค่าการทรุดตัวกรณีไม่มีแผ่นพื้นดินซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญ จากนั้นใช้สูตรการประมาณค่าการทรุดตัวกับเวลาของ Pongsivasathit et al. (2012) หาค่าการทรุดตัวกับเวลาของทั้งสองกรณี พบว่าในกรณีมีแผ่นพื้นดินซีเมนต์ วิธีดังกล่าวจะได้ค่าการทรุดที่มากเกิน จำเป็นต้องทำการปรับปรุงวิธีของ Pongsivasathit et al. (2012) โดยให้สามารถพิจารณาถึงผลกระทบของแผ่นพื้นดินซีเมนต์เสียก่อน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
พงศ์ศิวะสถิตย์ ศ. ., มั่นใจ ส. ., & ปิยะพิพัฒน์ ส. . (2015). ผลกระทบของการมีแผ่นพื้นต่อเส้นโค้งการทรุดตัวกับเวลาของชั้นดินเหนียวอ่อนที่ถูกปรับปรุง ด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์แบบไม่หยั่งลึก. Frontiers in Engineering Innovation Research, 2, 69–80. 取读于 从 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242045
栏目
Research Articles

参考

Chai, J. C., Miura, N., Kirekawa, T. and Hino, T. (2009). Settlement prediction for soft ground improved by columns. Ground Improvement, Proceeding of Institute of Civil Engineers. UK. Vol. 162 : 109-119.

Chai, J. C., and Pongsivasathit S. (2010). A method for calculating consolidation settlements of floating column improved clayey subsoil. Frontiers of Architecture and Civil engineering in China. 4(2) : 241-251.

Pongsivasathit, S., Chai, J. C. and Ding W. (2012). Consolidation settlement of floating-column-improved soft clayey deposit. Ground Improvement, Proceeding of Institute of Civil Engineers. UK. Vol. 166 : 44-58.

Pongsivasathit, S., Jitsuwan, P., Chai. J.C., and Hino. T (2014) Methodology for calculating the consolidation settlement of floating soil cement column improved soft clayey deposit. Proc.9th International Symposium on Lowland Technology. Japan. : 285-293.

Zhu, G. and Yin, J. H. (1999). Consolidation of double soil layers under depth-dependent ramp load. Geotechnique. 49(3) : 415-421.

Shen, S. L., Chai, J. C. and Miura, N. (2001). Stress distribution in composite ground of column-slab system under road pavement. Proc.1st Asian-Pacific Congress on Computational Mechanics. Elsevier Science Ltd. : 485-490.