ผลกระทบของการใช้เถ้าถ่านหิน ทรายบดละเอียด ตะกอนน้ำประปา แทนที่ในปูนซีเมนต์ต่อกำลังอัด การหดตัวแบบแห้ง และการหดตัวแบบออโตจีนัส ของคอนกรีต

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

จตุพล ตั้งปกาศิต
ศิวกร อ่างทอง
พนมศักดิ์ คงจีน

摘要

การใช้วัสดุแทนที่ในปูนซีเมนต์เป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเพื่อลดปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ยังสามารถทำให้คอนกรีตมีคุณภาพดีขึ้นและลดต้นทุนได้ แต่การหดตัวของคอนกรีตมีผลอย่างมากต่อความคงทน งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาถึงผลของการใช้ เถ้าถ่านหิน ทรายบด และ ตะกอนน้ำประปา ต่อกำลังอัด การหดตัวแบบแห้ง และการหดตัวแบบออโตจีนัสของคอนกรีต โดยใช้วัสดุแทนที่ให้มีขนาดเท่ากับปูนซีเมนต์ เพื่อลดผลกระทบจากขนาดอนุภาค โดยใช้การแทนที่ร้อยละ 10 และ 20 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ทำการทดสอบกำลังอัดประลัยของตัวอย่างขนาด 15 x 15 x 15 เซนติเมตร ที่อายุ 7, 14, 28 และ 60 วัน สำหรับ การหดตัวแบบแห้ง และการหดตัวแบบออโตจีนัส ใช้ตัวอย่างขนาด 7.5 x 7.5 x 28.5 เซนติเมตรไปบ่มในอากาศ บ่มน้ำ และหุ้มพลาสติก


จากผลการทดสอบพบว่าการใช้เถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 มีผลให้กำลังอัดประลัยของคอนกรีตช่วงอายุต้นน้อยกว่าคอนกรีตปกติ  แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการพัฒนากำลังอัดเพิ่มขึ้นและมีค่าสูงกว่าคอนกรีตปกติ  คอนกรีตที่ใช้ทรายบดละเอียดและตะกอนน้ำประปาแทนที่ในปูนซีเมนต์จะมีค่าต่ำกว่าคอนกรีตปกติ โดยในช่วงอายุต้นกำลังอัดของคอนกรีตตะกอนน้ำประปาจะสูงกว่าของทรายบด การหดตัวแบบแห้งและการหดตัวแบบออโตจีนัสของคอนกรีตที่ใช้เถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 มีการหดตัวน้อยกว่า เมื่อเทียบกับทรายบดละเอียด และตะกอนน้ำประปา โดยการแทนที่เถ้าถ่านหินร้อยละ 20 มีการหดตัวน้อยที่สุด การบ่มในน้ำจะทำให้การหดตัวของคอนกรีตเกิดขึ้นน้อยที่สุด

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
ตั้งปกาศิต จ. . ., อ่างทอง ศ., & คงจีน พ. . . (2016). ผลกระทบของการใช้เถ้าถ่านหิน ทรายบดละเอียด ตะกอนน้ำประปา แทนที่ในปูนซีเมนต์ต่อกำลังอัด การหดตัวแบบแห้ง และการหดตัวแบบออโตจีนัส ของคอนกรีต. Frontiers in Engineering Innovation Research, 14(2), 69–78. 取读于 从 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242015
栏目
Research Articles

参考

ศ.ดร.ปริญญา จินตประเสริฐ, ศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2547). ปูนซีเมนต์ปอซโซลานและคอนกรีต. กรุงเทพฯ : สมาคมคอนกรีตไทย (ส.ค.ท.) วิศวกรรมสถานแห่งชาติ.

นายจิตรกร วงศ์กรชวลิต. (2544). คุณสมบัติทางเคมีของเถ้าตะกอนสลัดที่เกิดจากการผลิตน้ำประปา และนำไปใช้ในงาน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

นายจตุพล ตั้งปกาศิต และคณะ. (2549). กำลังอัดของอนุภาคต่อค่าดัชนีกำลังของมอร์ต้าร์ ตามมาตรฐาน ASTM C618 โดยใช้ทรายแม่น้ำบดละเอียด. วารสารวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

American Society for Testing and Material, Annual Book of ASTM C596 Standard, V 04.02, Easton, Md., USA., 2001.

American Sociedy for Testing and Material, Annual Book of ASTM C33 Standard, V 04.02, Easton, Md., USA., 2001.

[6] ผศ.ดร.ปิติศานต์ กร้ามาตร. (2553). คุณสมบัติเบื้องต้นของคอนกรีตผสมเถ้าถ่านหินและผงหินปูน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Jatuphon Tangpagasit, Raungrut, Cheerarot, Chai Jaturapitakkul, Kraiwood Kiattikowmol, Packing effect and Pozzolanic reaction of fly ash in mottar., Cement and Conctete Research 35 (2005) 1145-1151.