คุณสมบัติด้านกำลังและเส้นโค้งการทรุดตัวของเสาเข็มดินซีเมนต์แบบไม่หยั่งลึกที่ทำด้วยวิธีอย่างง่าย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สุธี ปิยะพิพัฒน์

摘要

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านกำลังในเทอมของค่าแรงกดทิศทางเดียว และหาเส้นโค้งการทรุดตัวกับเวลาของเสาเข็มดินซีเมนต์แบบไม่หยั่งลึกที่ถูกทำขึ้นด้วยวิธีอย่างง่ายเพื่อใช้ในชุมชนท้องถิ่น โดยวิธีที่นำเสนอใช้เครื่องมือที่สามารถจัดหาและจัดทำได้อย่างง่ายโดยบุคคลทั่วไป มีขั้นตอนในการก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนการจัดทำหลุม 2) ขั้นตอนการผสมน้ำกับดิน 3) ขั้นตอนการผสมซีเมนต์ และ 4) ขั้นตอนการใส่ดินซีเมนต์ สำหรับประสิทธิภาพของวิธีอย่างง่ายนี้ถูกแสดงด้วยการเปรียบเทียบกับวิธีอัดฉีดแรงดันสูงโดยใช้ค่าแรงกดแกนเดียวและค่าความหนาแน่นแห้งของเสาเข็มดินซีเมนต์ นอกจากนี้ทำการทดสอบให้น้ำหนักกระทำแก่เสาเข็มดินซีเมนต์เพื่อตรวจสอบค่าการทรุดตัวของทั้ง 2 วิธี สถานที่ทดสอบถูกจัดเตรียมในพื้นที่บริเวณจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย ซึ่งชั้นดินเป็นดินเหนียวอ่อน เสาเข็มดินซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.50 เมตร และยาว 4.0 เมตร ถูกสร้างด้วยวิธีที่นำเสนอและด้วยวิธีอัดฉีดแรงดันสูง ตัวอย่างทดสอบใช้เครื่องมือเจาะแก่นเก็บตัวอย่างจากเสาเข็มดินซีเมนต์ เปรียบเทียบผลการทดสอบพบว่าค่าแรงกดแกนเดียวของเสาเข็มดินซีเมนต์ด้วยวิธีที่นำเสนอมีค่าน้อยกว่าวิธีอัดฉีดแรงดันสูงอยู่เล็กน้อยเท่านั้น การเพิ่มขึ้นของอายุการบ่มทำให้ค่าแรงกดแกนเดียวและโมดูลัสยืดหยุ่นที่ 50 เปอร์เซ็นต์ความเครียดเพิ่มขึ้นตามทั้งสองวิธี มีแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงกดแกนเดียวและค่าความหนาแน่นแห้งไปในทางเดียวกันคือค่าความหนาแน่นแห้งมากทำให้ค่าแรงกดแกนเดียวมากตาม สำหรับเส้นโค้งค่าการทรุดตัวกับเวลาพบว่าทั้ง 2 วิธีมีค่าใกล้เคียงกัน โดยวิธีอย่างง่ายมีค่าการทรุดตัวสูงกว่าเพียงเล็กน้อย ดังนั้นวิธีที่นำเสนอสามารถในไปใช้ในการผลิตเสาเข็มดินซีเมนต์เพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของชั้นดินเหนียวอ่อนได้ เนื่องจากมีขั้นตอนการทำที่ง่ายและใช้เครื่องมือในการจัดทำที่สามารถหาได้ในชุมชนท้องถิ่น

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
ปิยะพิพัฒน์ ส. . (2017). คุณสมบัติด้านกำลังและเส้นโค้งการทรุดตัวของเสาเข็มดินซีเมนต์แบบไม่หยั่งลึกที่ทำด้วยวิธีอย่างง่าย. Frontiers in Engineering Innovation Research, 15(2), 59–67. 取读于 从 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/241991
栏目
Research Articles

参考

Kamon, M. (1996), Effective of Grouting and DMM on Big Construction Project in Japan the 1995 Hyogoken-Nambu Earthquake, Grouting and Deep Mixing, The Second International Conference on Ground Improvement Geosystems, Tokyo,Vol.2, pp. 807-823.

Bergado, D.T., Anderson, L.R., Miura, N. and Balasubramanium, A.S. (1996), Lime/Column Stabilization, Soft Ground Improvement in Lowloand and Other Environmental, Asian Institute of Technology, pp. 234-304.

นภดล กรณ์ศิลป์ (2541), ความรู้เบื้องต้นด้านการปรับปรุงคุณภาพดินโดยวิธี Jet Grouting,วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, หน้า 1-43.

Chida, S. (1982), Dry Jet Mixing Method – State of the Art on Improvement Methods for Soft Ground, Journal of the Japanese Society of Soil Mechanics and Foundation Engineering, Vol.85, No.2, pp. 69-76.

Lambe, T.W., Mitchael, A.S. and Moh, Z.C. (1957), Improvements of Soil – Cement with Alkali Metal Compounds, Highway Research Board Bulletin. 244, pp. 67-103.

Herzog, A. and Mitchell, J.K. (1963), Reactions Accompanying the Stabilization of Clay with Cement, Highways Research Board Record 36, pp. 146-171.

Chai J.C., Miura N., Kirekawa T. and Hino T. (2009), Settlement Prediction for Soft Ground Improved by Columns. Proceedings of the Institution of Civil Engineers – Ground Improvement 163(2): 109–119.