กระบวนการตกแต่งสารยึดติดพอลิยูริเทนและอนุภาคไมโคร/นาโนซิลค์บนผ้าทอลายขัดฝ้าย 100% ด้วยกระบวนการพ่นเคลือบแบบ One และ Two Steps Spraying Method

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

นพรัตน์ เนื่องชมภู
สมนึก สังข์หนู
อภิชาติ สนธิสมบัติ

摘要

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการตกแต่งแบบใหม่ (พ่นเคลือบด้วยกาพ่นสี) ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการตกแต่งแบบจุ่ม-บีบอัด-ทำแห้ง (Dip-Nip-Dry Finishing Method) ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทออย่างแพร่หลาย กระบวนการ One Step Spraying Method (สารยึดติดพอลิยูริเทนความเข้มข้น 10% ผสมกับสารละลายอนุภาคไมโคร/นาโนซิลค์ความเข้มข้น 0.5, 1.0,. 1.5, 2.0% ตามลำดับ) พ่นบนผิวหน้าผ้าทอลายขัดฝ้าย 100% ชั่งน้ำหนักผ้า หลังจากนั้นอบแห้ง 120oC เป็นเวลา 120 วินาที นำผ้าไปเก็บไว้ ณ ห้องทดสอบมาตรฐาน และกระบวนการ Two Steps Spraying Method ครั้งแรกเป็นการพ่นเคลือบด้วยสารยึดติดก่อน จากนั้นพ่นครั้งที่สองด้วยสารละลายอนุภาคไมโคร/นาโนซิลค์ ด้วยความเข้มข้นที่เหมือนกับกระบวนการ One Step Spraying Method พ่นผิวหน้าผ้าทอลายขัดฝ้าย 100% ชั่งน้ำหนักผ้า หลังจากนั้นอบแห้ง 120oC เป็นเวลา 120 วินาที นำผ้าไปเก็บไว้ ณ ห้องทดสอบมาตรฐาน จากนั้นนำผ้ามาทดสอบความคงทนต่อการขัดถู (สภาวะแห้ง และเปียก) ทดสอบความคงทนต่อการซักล้าง (20 ครั้ง) ทดสอบเวลาในการซึมน้ำ และตรวจสอบขนาดและสัณฐานของอนุภาคที่เกาะอยู่บนผิวหน้าผ้าฝ้ายด้วยกล้อง SEM สรุปว่าผลการทดลองความคงทนต่อการขัดถูมีร้อยละน้ำหนักสูญเสียอยู่ในช่วงต่ำสุด -0.114% ถึงสูงสุด -0.510% ทั้งสองกระบวนการ และเวลาในการซึมน้ำเท่ากันทั้งสองกระบวนการ แต่กระบวนการแบบ Two Steps Spraying Method พบว่าผ้ามีความคงทนต่อการซักล้างดีกว่ากระบวนการ One Step Spraying Method ซึ่งสอดคล้องกับภาพจากกล้อง SEM แสดงว่าอนุภาคไมโคร/นาโนซิลค์ยังคงหลงเหลืออยู่บนผ้าที่ตกแต่งทั้งสองกระบวนการ สรุปว่าผ้าที่ผ่านการตกแต่ง Two Steps Spraying Method อาจจะถูกเลือกมาใช้กับการตกแต่งผ้าสำหรับงานสปา เนื่องจากสารยึดติดถูกพ่นเคลือบบนผืนผ้าก่อนเต็มพื้นที่ของผิวหน้าผ้า จึงน่าจะมีการยึดติดที่ดีกว่า.

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
เนื่องชมภู น. ., สังข์หนู ส. ., & สนธิสมบัติ อ. (2017). กระบวนการตกแต่งสารยึดติดพอลิยูริเทนและอนุภาคไมโคร/นาโนซิลค์บนผ้าทอลายขัดฝ้าย 100% ด้วยกระบวนการพ่นเคลือบแบบ One และ Two Steps Spraying Method. Frontiers in Engineering Innovation Research, 15(2), 7–18. 取读于 从 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/241986
栏目
Research Articles

参考

Sonthisombat, A. 1993, M.Sc.Thesis, The University of Leeds, UK.

Sonthisombat, A. 1997, Ph.D.Thesis, The University of Leeds, UK.

อภิชาติ สนธิสมบัติ สมนึก สังข์หนู สิงห์โต สกุลเขมฤทัย ปิยะพงษ์ อัศวศุภฤกษ์ ชิโนทัย พรหมหิตาทร โครงการวิจัย “การผลิตอนุภาคนาโนเซริซิน และ ไฟโบรอิน เพื่อนำไปใช้ในการตกแต่งบนเสื้อผ้ากีฬา”

สนับสนุนทุนวิจัยโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประจำปีงบประมาณ 2550 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี หน้า 1-278.

พวงผกา คุ้มสีไว และ ยิ่งมณี ตระกูลพัว การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ หน้า 1524-1534.

อภิชาติ สนธิสมบัติ, 6 มกราคม 2558, กรรมวิธีการผลิตผงไหม (ไฟโบรอินและเซริซิน) เพื่อใช้ในงานด้านสิ่งทอ การแพทย์ และเครื่องสำอาง, ประเทศไทย เลขที่อนุสิทธิบัตร 9418.

Robson, R.M., Silk; Composition, Structure and Properties, in Handbook of Fiber Science and Technology, Vol. IV, Ed. By Lewin, M., and Pearce, E.M., Mercel Dekker Inc., New York, 1985, pp 647-700.

อภิชาติ สนธิสมบัติ, กระบวนการทางเคมีสิ่งทอ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, ปทุมธานี, 2545 หน้า 1-327.

ความหมายของการตกแต่งเชิงกล และเชิงเคมี [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.ttcexpert.com/lesson4.html (29 มีนาคม 2560).

โปรแกรม SemAfore 5.2 [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://semafore.software.informer.com/5.2/

(29 มีนาคม 2560).

Spray Gun [Online] Available : http://anestiwata.com/wp-content/uploads/2011/12/manual-catalog.pdf

(13 May 2017).

เทคนิคการพ่นสี [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://goo.gl/uSWrfv (13 พฤษภาคม 2560).