กลไกการเพิ่มประสิทธิภาพของเลเซอร์สแกนเนอร์ที่ใช้สร้างพื้นผิวในสามมิติ
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
บทความนี้นำเสนอกลไกการเพิ่มประสิทธิภาพของเลเซอร์สแกนเนอร์ที่ใช้สร้างพื้นผิวในสามมิติ ในการออกแบบและพัฒนาระบบชุดกลไกการสแกนพื้นผิวสามมิติ พร้อมกับระบบควบคุมรักษาระนาบการเอียงซ้าย-ขวา และควบคุมความเร็วในการก้ม-เงยอย่างสม่ำเสมอ จะถูกนำไปใช้ในการวัด/เก็บข้อมูลที่วัดได้จากเลเซอร์สแกนเนอร์ที่สามารถนำไปติดตั้งไว้บนเรือ ฉะนั้นการวัดตำแหน่งของวัตถุและลักษณะกายภาพของวัตถุจากข้อมูลกลุ่มจุดของเลเซอร์จะมีความถูกต้องและแม่นยำขึ้น ในขั้นตอนการออกแบบได้ทำการทดสอบระบบกลไกด้วยแบบจำลองทางจลศาสตร์ เพื่อคำนวณหาความยาวของแต่ละก้านโยงสำหรับกลไกการเชื่อมต่อแบบสี่ก้านโยง (four-bar linkage mechanism) เพื่อให้ได้มุมก้ม-เงย (pitch angle) ของเลเซอร์สแกนเนอร์ รอบแกน y ในช่วง ±16.5° และ แบบจำลองทางพลศาสตร์จะใช้ช่วยคำนวณหาแรงบิดสูงสุดของมอเตอร์ในแต่ละแกนที่เหมาะสม ในขั้นที่สองจึงพัฒนาระบบควบคุมสองแบบด้วย Arduino ไมโครคอนโทรเลอร์ 1) เพื่อช่วยรักษาเลเซอร์สแกนเนอร์ให้อยู่ในระนาบแนวนอน โดยใช้ระบบควบคุมแบบพีไอดีสำหรับควบคุมมอเตอร์ดีซีตัวบน โดยใช้เอนโค้ดเดอร์ในการป้อนกลับองศาการกลิ้ง (roll angle) รอบแกน x ที่ชี้ไปทางด้านหน้าของหัวเรือ 2) เพื่อให้ได้พื้นผิวข้อมูลกลุ่มจุดของเลเซอร์สแกนเนอร์ในแนวตั้งอย่างสม่ำเสมอจากการเคลื่อนที่แบบก้ม-เงย ของกลไกแบบสี่ก้านโยงที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ดีซีตัวล่าง ด้วยระบบควบคุมแบบป้อนไปข้างหน้าที่ใช้องศาก้ม-เงยจากเซนเซอร์วัดมุมเอียง ซึ่งจะช่วยชดเชยแรงโน้มถ่วงของโลก ในส่วนที่สามจะเป็นสร้างพื้นผิวในสามมิติจากข้อมูลกลุ่มจุดที่วัดได้จากเลเซอร์สแกนเนอร์ในแนวรัศมี ซึ่งจะทำการประมวลผลในรูปแบบพื้นผิวแบบกลุ่มจุดสามมิติในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน แล้ววิเคราะห์ค่าความแม่นยำของพื้นผิวที่สร้างขึ้นโดยพิจารณาจากระยะทางในแนวนอนทางสถิตินั้นมีค่าอยู่ในช่วง ±7 เซนติเมตร และ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่น้อยกว่า 2.2 เซนติเมตร
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Frontiers in engineering innovation research has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
参考
P. Prempraneerach, M. Janthong, K.
Phothongkum, C. Choosui, S. Timpitak. Hydrographical survey using point cloud data from laser scanner and echo sounder. In 13th International Conference on Electrical Engineering/Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI-CON). 2016;pp. 1-6.
Thomas J. Pastore and A.N. Patrikalakis. Laser Scanners for Autonomous Surface Vessels in Harbor Protection: Analysis and Experimental Results. International Waterside Security Conference. 2010; pp. 1-6.
A. Battistel, F. Lizarralde, L. Hsu. Inertially stabilized platforms using dual-axis gyros: sensitivity analysis to unmodeled motion and an extension to visual tracking. American Control Conference. 2012; pp. 1-8.
L. Hongkai, H. Guojian, Y. Haichen, Z. Yan and W. Wei. Fast 3D Scene Segmentation and Classification with Sequential 2D Laser Scanning Data in Urban Environments. 2016 35th Chinese Control Conference (CCC). 2016; pp. 5446-5450.
Hamilton H. Mabie and Charles F.
Reinholtz. Mechanisms and Dynamics of Machinery, 4nd edition, ISBN: 13978-0-471-80237-2. United States: John Wiley & Sons, Inc. 1987.
Wasan Leelatanaroek, Pradya Prempraneerach. Study and Design of Radio-control Flapping-wing Robot. Department of Mechanical Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi; 2014.
Reza N. Jazar. Theory of Applied Robotics: Kinematics, Dynamics, and Control, Second Edition. New York: Springer Science+Business Media, LLC 2006; 2010.
Bruno Siciliano, Lorenzo Sciavicco,
Luigi Villani, Giuseppe Oriolo. Robotics : Modelling, Planning and Control. United Kingdom: Springer-Verlag London Limited; 2009.
Pitakwatchara P. Fundamentals of Robotics : Kinematics of Serial Manipulators. Bangkok, Thailand : Chulalongkorn University Press; 2014. (in Thai)
Pololu [Internet]. MinIMU-9 [modified 2016 October 15]. Available from: https://www.pololu.com/product/1264
Arduino [Internet]. Arduino DUE [modified 2016 October 16]. Available from: https://www.arduino.cc/en/Guide/ArduinoDue
Autonomoustuff [Internet]. UXM-30LXH-EWA [modified 2016 October 20]. Available from: https://www.autonomoustuff.com/wp-content/uploads/2016/07/UXM-30LXH-EWA.pdf
Sangtawan [Internet]. Gear Motor DC SMG016 [modified 2016 October 25]. Available from: http://www. sangtawan.org/product_detail.asp?product_id=959&lng=th
Sangtawan [Internet]. Gear Motor DC SMG033 [modified 2016 October 25]. Available from: http://www. sangtawan.org/product_detail.asp?product_id=261&lng=t
Wikipedia [Internet]. PID Control System [modified 2014 October 25]. Available from: https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบควบคุมพีไอดี
Boonkrong W. Pinciple of Simulink in MATLAB. Department of Electrical Engineering, Faculty of Engineering, Srinakharinwirot University; 2004. (in Thai)