การศึกษาสมบัติการยึดเกาะของพอลิโพรพิลีนที่ผ่านกระบวนการฉีดขึ้นรูปแบบโอเวอร์โมลดิ้ง

Main Article Content

สมเจตน์ พัชรพันธ์
จตุพงศ์ ครองธานินทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยของกระบวนการฉีดแบบโอเวอร์โมลดิ้ง ที่มีต่อความแข็งแรงการยึดเกาะ (Bond strength) ระหว่างพอลิโพรพิลีนที่เป็นวัสดุพื้น (Substrate material) และวัสดุซ้อนทับ (Overmolded material) โดยได้ทำการศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิฉีดของวัสดุซ้อนทับ (Overmolded temperature) อุณหภูมิของวัสดุพื้น (Substrate temperature) และแรงดันคงค้าง (Holding pressure) ที่มีต่อสมบัติความต้านทานต่อแรงดึง (Tensile strength) และแรงกระแทก (Impact strength) นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาอิทธิพลของระยะสัมผัส (Contact distance) และลักษณะของพื้นผิวสัมผัส (Surface pattern) ที่มีต่อความต้านทานต่อแรงเฉือน (Shear strength) จากผลการทดสอบพบว่า ความแข็งแรงการยึดเกาะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิฉีดวัสดุซ้อนทับและวัสดุพื้น โดยการเพิ่มอุณหภูมิวัสดุพื้น ส่งผลให้ความแข็งแรงการยึดเกาะเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับการเพิ่มอุณหภูมิฉีดวัสดุซ้อนทับ จากผลการทดสอบสมบัติความต้านทานต่อแรงเฉือนพบว่าความต้านทานต่อแรงเฉือนมีแนวโน้มลดลงเมื่อระยะสัมผัสเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการแพร่ข้ามของสายโซ่โมเลกุล (Intermolecular diffusion) ที่บริเวณหน้าสัมผัสที่มีแนวโน้มลดลงเมื่อระยะทางการไหลเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้จากผลการทดสอบยังแสดงให้เห็นว่าวัสดุพื้นที่มีพื้นผิวสัมผัสแบบร่องแนวตั้งฉากและร่องแนวขนานกับทิศทางการรับแรงให้สมบัติความต้านทานต่อแรงเฉือนที่ดีกว่าวัสดุพื้นที่มีพื้นผิวสัมผัสแบบเรียบ

Article Details

How to Cite
พัชรพันธ์ ส. ., & ครองธานินทร์ จ. . (2021). การศึกษาสมบัติการยึดเกาะของพอลิโพรพิลีนที่ผ่านกระบวนการฉีดขึ้นรูปแบบโอเวอร์โมลดิ้ง. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 19(2), 13–21. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/244261
บท
บทความวิจัย

References

Osswald T.A, Polymer Processing: Fundamentals, Hanhser Publishers, Munich, 1998.

Rothe J. Special injection molding methods, Kunststoffe Plast Europe, 1997, 87(11):1564-81.

Costalas E, Krauss H. Optimized bonding of composites in over-injection. Kunststoffe Plast Europe. 1995;85(11):1887-91.