เครื่องบีบน้ำมันจากเมล็ดพืชแบบเกลียวเดี่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
น้ำมันพืชโดยทั่วไป ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยการสกัดที่ต้องใช้สารเคมี มาใช้ในกระบวนการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีลักษณะและคุณภาพดี ผลิตได้รวดเร็วมีต้นทุนต่ำ แต่กระบวนการการบีบอัดน้ำมันออกจากเมล็ดพืชโดยตรงเป็นทางเลือกใหม่ ที่จะทำให้ได้น้ำมันพืชที่มีความบริสุทธิ์ ปราศจากสารปนเปื้อนหรือสารตกค้างอื่นๆ และผู้บริโภคสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย คณะผู้จัดทำโครงการ จึงได้ทำการออกแบบ และสร้างเครื่องบีบอัดน้ำมันจากเมล็ดพืชแบบเกลียวเดี่ยวตลอดจนศึกษาสภาวะการทำงานที่เหมาะสม โดยได้ทำการทดลองบีบอัดวัตถุดินจำนวน 5 ชนิด คือ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดงาขาว เมล็ดถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง และเนื้อมะพร้าว ขูดตากแห้ง โดยน้ำวัตถุดิบไปบีบอัดที่ความเร็วรอบของเกลียวแตกต่างกัน พร้อมกับ เลือกขนาด ช่องคายกากที่เหมาะสมไปพร้อมๆ กันด้วย ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเฟสเดียวขนาด 2 แรงม้า ทดรอบด้วยเฟืองขนาดอัตราทด 1:7 เป็นตัวส่งกำลังขับชุดเกลียวบีบอัด และสามารถปรับค่าความเร็วรอบของมอเตอร์ด้วยอินเวอร์เตอร์ จากการศึกษาได้ใช้ความเร็วรอบของเกลียวบีบอัด 5 ระดับ และกำหนดขนาดของช่องคายกากเป็น 4 ขนาด พบว่าเมล็ดทานตะวันกะเทาเปลือกที่ความเร็ว 15 รอบต่อนาทีช่องคายกากขนาด 8 มิลลิเมตร เมล็ดงาขาวที่ความเร็วรอบ 15 รอบต่อนาที ช่องคายกากขนาด 10 มิลลิเมตร เมล็ดถั่วลิสงที่ความเร็วรอบ 15 รอบต่อนาที ช่องคายกากขนาด 10 มิลลิเมตร เมล็ดฟักทอง ที่ความเร็ว 15 รอบต่อนาที ช่องคายกากขนาด 8 มิลลิเมตร และเนื้อมะพร้าวขูดตากแห้งที่ความเร็ว 15 รอบต่อนาที ช่องคายกาก 14 มิลลิเมตร ได้ปริมาณน้ำมันมากที่สุด คือ 53 41 28 40 และ 60 เปอร์เซ็นต์ และได้อัตราการผลิต 2.10 1.70 0.75 2.20 และ 5.52 กิโลกรัมต่อชั่วโมงตามลำดับ ทั้งนี้ ได้ควบคุมอุณหภูมิของน้ำมันขณะบีบอัดต้องไม่ควรเกิน 60 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของน้ำมันให้มี สี กลิ่น รส และคุณสมบัติด้านโภชนาการอยู่ครบถ้วนตามธรรมชาติ
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
[2] มาลิณีย์ เลาะเมาะห์, สุพัฒน์ ทองหนูนัย และ จักรพงยขวัญเมือง. 2545. การออกแบบและสร้างเครื่องบีบอัดน้ำมันเมล็ดทานตะวันแบบใช้เกลียว. ปริญญานิพนธ์,สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
[3] ชลิตต์ มธุรสมนตรี, 2647, การพัฒนาเละการศึกษาสภาวะการผลิตที่เหมาะสมในการบีบอัดน้ำมันออกจากเมล็ดสะเดา ด้วยเครื่องบีบอัดแบบเกลียวเดี่ยว,งานวิจัย, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
[4] http://www.panmai.com/GardenSong/Flower_27.htm
[5] http://classroom.psu.ac.th/users/spravit/510-211/peanut.htm
[6] http://www.thaitrip.com/herb/pumpkin.html
[7] Salunkhe, D.K., Chavan, J.K., Adsule, R.N., Kadam,S.S. 1992. World oilseeds: chemistry, technology,and utilization. Van Nostrand Reinhold. New York.
[8] มานพ ตัณตระบัณฑิต. 2540. การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรถล1, พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก.เม็ดทรายพริ้นติ้ง,กรุงเทพฯ.
[9] คึกฤทธิ์ เนาว์สุวรรณ, งชัย จารธนสารกุล และมนตรี บุญเกลี้ยง. 2542. เครื่องทำซอสมะเขือเทศ.ปริญญานิพนธ์, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
[10] บรรเลง ศรนิล และ ประเสริฐก๊วยสมบูรณ์. 2524.ตารางโลหะ. สถาบันเทคโนโลยีพระอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[11] คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา. 2547. พืชเศรษฐกิจ.พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.
[12] ชาญ ถนัดงาน และ วริทร์ อึ้งภากรณ์. 237การออกแบบเครื่องจักรกล. บริษัทยูเคชั่น, กรุงเทพฯ.