การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแท่งไม้เทียนจากเศษพลาสติก

Main Article Content

ศิริวัฒน์ ประจงแต่ง
อนุกูล แสงสนิท
วีรศักดิ์ หมู่เจริญ
บัญชา ชีพพานิช
ชวลิต แสงสวัสดิ์

บทคัดย่อ

โครงงานนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไม้เทียมจากเศษพลาสติก โดยเศษพลาสติกที่กล่าวถึงนี้ เป็นพลาสติกประเภทเหลือใช้และทิ้งกันตามที่เก็บขยะทั่วไป คือ โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (แอลดีพีอี) โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (เอสดีพีดี) โพลิโพรพิลีน (พีพี) และโพลิสไตรีน (พีเอส) โดยขั้นตอนการทำงานจะเริ่มจากการรวบรวมเศษพลาสติกที่มีการคัดแยกประเภทแล้ว นำมาทำความสะอาดและทำให้แห้งจากนั้นนำไปบดผสมกันตามสูตรต่างๆ ที่คิดขึ้นจากองค์ความรู้ที่ศึกษา ตัดเม็ดคอมเปานด์ด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ ขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องอัดขึ้นรูป และทดสอบสมบัติทางกลปรากฏว่าไม้เทียมสามารถผลิตได้จากการผสมเศษพลาสติกหลายชนิดที่คลุกเคล้ารวมกัน มีสมบัติทางกลที่ดีใกล้เคียงกับบริษัทผู้ผลิตไม้เทียมที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปในต่างประเทศ

Article Details

How to Cite
ประจงแต่ง ศ. ., แสงสนิท อ. ., หมู่เจริญ ว. ., ชีพพานิช บ. ., & แสงสวัสดิ์ ช. . (2007). การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแท่งไม้เทียนจากเศษพลาสติก. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 10, 27–33. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242226
บท
บทความวิจัย

References

ชวลิต แสงสวัสดิ์และคณะ. "การพัฒนาสูตรคอมเปานด์สำหรับงานอัดรีดแผ่นชีทแข็งจากพอลิไวนิลคลอไรค์,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี : ปทุมธานี, 2551.

Scheirs, J. Polymer Recycling Science, Technology And Applications. Chichester : John Wiley & Sons Ltd, 1998.

บรรเลง ศรนิล. 2546. "เทคโนโลยีพลาสติก",พิมพ์ครั้งที่ 19, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทยญี่ปุ่น) : กรุงเทพ, 2550.

Ecoboard specifications[Online]. เข้าถึงได้จากhttp://thepllcompany.com/nonreinforced.html.

Folkes M.J, and Hope P.S. Polymer blends and Alloys. London : Chapman & Hall, 1993.

Berins L.M. Plastic Engineering Handbook of the Society of the Plastics Industry, 5th ed. New

York : Van Nostrand Reinhold, 1991.