การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงาน บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ใน 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพชีวิต ด้านความรู้ความสามารถ คุณภาพการทำงาน การสนับสนุนการทำงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกตามสถานภาพส่วนตัวของ พนักงานบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจจากประชากร จำนวน 294 คน ซึ่งเป็นพนักงานบริษัททีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด มีพนักงานตอบแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 287 คน คิดเป็นร้อยละ 97.62 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า พนักงานพนักงานบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด มีความต้องการพัฒนาตนเองในภาพรวมและแต่ละรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านคุณภาพชีวิต คุณภาพการทำงาน สนับสนุนการทำงาน และความรู้ความสามารถ และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานจำแนกตามสถานภาพส่วนตัวปรากฏว่า พนักงานเพศชายมีความต้องการพัฒนาตนเองมากกว่าพนักงานเพศหญิง และพนักงานช่วงอายุ 36-45 ปี พนักงานที่มีคุณวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พนักงานตำแหน่งระดับบริหาร พนักงานสังกัดฝ่ายผลิต และพนักงานที่มีประสบการณ์ทำงาน 5-15 ปี มีความต้องการพัฒนาตนเองในระดับมากที่สุด
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาติ. (2531). การพัฒนาทรัพยากรมนุษข์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สันติวงษ์. (2530). องค์การและการบริหาร :การศึกษาการจัดการแผนใหม่.กรุงเทพมหานคระ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
ปัณรส มาลากุลณ อยุธยา. (2542). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยรามคำเเหง.
มัลลิกา ตั้นสอน. (244) พฤติกรรมองค์กร.กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ต.
สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ (พิมพัดรั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:บรรพกิจ.
อุทัย หิรัญโต. (2531). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
Frederick, Herzberg. (2004). 2 Factor hygiene and motivation theory, Retrieved Feb 15,2004 from www.accel-team.com/human__relations/hrels 05 herzberg.html