การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานทดแทน: กรณีศึกษาชุมสายหลักโทรศัพท์พื้นฐานในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนให้แก่ชุมสายหลักโทรศัพท์พื้นฐานทุ่งสองห้องของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ด้วยเหตุนี้จึงทำใช้เกิดแนวคิดที่จะนำหลักการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเข้ามาประยุกต์ใช้วิเคาะห์ความคุ้มค่าเหมาะสมของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน
ขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มจากการสร้างแบจำลองระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมและระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยโปรแกรมความพิวเตอร์ HOMER เพื่อเปรียบเทียบปริมาณไฟฟ้าที่ได้จากระบบจากนั้นจึงวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจศาสตร์การเงินที่ประกอบด้วย อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน ระยะเวลาคืนทุนอัตราผลตอบแทนภายในและมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
ผลการวิจัยพบว่าระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมมีความเป็นไปได้ในการลงทุนมากที่สุดเนื่องจากมีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุนมากที่สุดเท่ากับ 1.12 ระยะเวลาการคืนทุนเร็วที่สุดเท่ากับ 11 ปี อัตราผลตอบแทนภายในมากที่สุดเท่ากับ 7.26% และมูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่ากำไรมากที่สุดเท่ากับ 9,424.40 บาท
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
สำนักงานนโยบายเละเผนพลังงานกระทรวงพลังงาน.แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25%ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2564).สืบค้นจาก (ออนไลน์) Available: http:// www.eppo.go.th [ข้าถึง 1 มกราคม 2556]
จิรยุทธ์ เจริญฉัตรชัย. การประมินความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมาใช้.บริษัทไบร์ทแมเนจเม้นท์คอนซัลติ้งจำกัด.2555.
กฤษฎา พรหมพินิ และคณะ. หลักการรูปแบบในการควบคุมระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน
จากพลังงานแสงอาทิตย์. การประชุมเชิงวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5. 2552,
นิพนธ์ เกตุจ้อย และอชิตพล ศศิธรานุวัฒน์. เทคโนโลยีพลังงานลมเพื่อผลิตไฟฟ้า. Naresuan University
Journal. 2004.
กรงพล ยุทธเกรียงไกร. สมรรถนะของระบบผลิตเละจำหน่ายไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนแบบผสมผสานสำหรับหมู่บน (กรณี หมู่บ้านเกาะจิก).วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเกยตรศาสตร์.2550.
Witte, M.J.,et al. "Testing and Validation of A New Building Energy Simulation Program," Seventh International IBPSA Conference. Rio de Janeiro, Brazil. 2001.
Givler, T, and Lilienthal, P. "Using HOMER Software.NREL's Micropower Optimization Model to Explore the Role of Gen-sets in Small Solar Power Systems: Case Study: Sri Lanka,"National Renewable Energy Laboratory. 2005.
ไพบูลย์ แย้มผื่อน. เศรษฐศาสตรัวิศวกรรม. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน). 2548.