การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโซ่อุปทานสำหรับแผ่นยางพาราดิบไม่เรียบ: กรณีศึกษาจังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานยางพารา โดยทั่วไปแล้วความเสี่ยงจะประกอบด้วยความเสี่ยงภายในและความเสี่ยงภายนอกอันได้แก่ผลกระทบจาก ภาวะเศรษฐกิจ ภัยพิบัติธรรมชาติ รวมทั้งภัยก่อการร้าย หรือแม้แต่ความเสี่ยงจากการผลิต งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามและสัมภาษณ์เกษตรกรจังหวัดนราธิวาส จำนวน 100 คน และผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจยางพารา โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการใช้โปรแกรม SPSS และการจัดระดับประเภทความเสี่ยงทำการคำนวณจากค่าโอกาสของการเกิดความเสี่ยงและระดับความรุนแรงจากปัจจัยผลการวิจัยพบว่าประเภทของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานยางพาราแผ่นดิบส่งผลกระทบหรือมูลค่าความเสียหายต่อการดำเนินงานที่มีความสำคัญอยู่ใน 3 อันแรก คือ ความไม่แน่นอนของราคายางในอนาคต สภาวะความต้องการของเศรษฐกิจโลกอนาคต และเสถียรภาพทางการเมือง
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ข้อมูลวิชาการยางพารา .2555 '[ออนไลน์] http:/www.rubberthai.com/book/file/110.pdf เข้าถึงได้จาก [สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2556)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, คู่มือการบริหารความเสี่ยง,www.lpc.mutl.ac.th/plan/data/published/content.doc, 2552
ฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2552, การบริหารความเสี่ยงภัยและการประกันภัยในศตวรรษที่ 21,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Liping, L., Jianhua, J., Tijun, F,, and Lili Q., 2006.Risk Management in Chemical Industry Supply Chain. IEEE International Conference on Service Operations and Logistics, and Informatics: 415-418
สุพรรณิการ์ ธรรมนิทัศนา และ ดำรง ทวีแสงสกุลไทย,2550 การพัฒนาการบริหารความเสี่ยงสำหรับ อุตสาหกรรมการผลิต, การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการะ 930-935.
Molak, V. 1996 Fundamentals of Risk Analysis and Risk Management USA. CRC Press
Mark, H, and Heather, K. 2007 Managing Risk in the Supply Chain-A Quantitative Study. AMR Research