การลดปัญหาของเสียในการผลิตเกียร์ด้วยหลักการ DMAIC : กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนมอเตอร์ไฟฟ้า

Main Article Content

กัญญรัตน์ วังคะฮาด
ณฐา คุปตัษเฐียร

บทคัดย่อ

 งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเกียร์โดยประยุกต์ใช้หลักการ DMAIC ของ ซิกซ์ ซิกม่า จากปัญหาหลักเส้นผ่านศูนย์กลางภายในเกินกว่าค่าที่กำหนดให้ลดลง 50% ตามเป้าหมายของโรงงานตัวอย่าง ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 5  ขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ (1) ขั้นตอนการกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้น (Defined Phase) โดยใช้แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram)  (2) ขั้นตอนการวัด (Measure Phase) เพื่อกำหนดหาสาเหตุปัญหา (3) ขั้นตอน การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Analysis Phase) โดยการวิเคราะห์ทีละสาเหตุ ทีละปัจจัย (4) ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ (Improved Phase) โดยทำการออกแบบการทดลอง 22 Factorial Design ,Operation Standard  และ Gauge Repeatability and Reproducibility (GR&R) (5) ขั้นตอนการควบคุมกระบวนการต่างๆ (Control Phase) โดยได้ การกำหนดมาตรฐานการทำงาน (Work Instruction) เพื่อช่วยในการควบคุมกระบวนการผลิต หลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามหลักการ DMAIC ของ ซิกส์ ซิกม่า  ทำให้พบว่า ลดลงจากเดิม 3.4% เหลือเพียง 0.91% ของปริมาณของเสียทั้งหมด ดังนั้น การปรับปรุงครั้งนี้สามารถลดปริมาณของเสียได้ถึง 76.47%  ซึ่งเกินกำหนดเป้าหมายของบริษัทที่วางเอาไว้ที่ 50%

Article Details

How to Cite
วังคะฮาด ก., & คุปตัษเฐียร ณ. . (2014). การลดปัญหาของเสียในการผลิตเกียร์ด้วยหลักการ DMAIC : กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนมอเตอร์ไฟฟ้า. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 2, 29–41. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242064
บท
บทความวิจัย

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (Depart-ment of Trade Negotiations), 2556.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.thaifta.com

ธนรัตน์ เอี่ยมเจริญ, 2554. การลดข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนปุ่มฉุกเฉินโดยใช้หลักการ DMAIC:กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี .การประชุมวิชาการ

ข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี2554 20-21 ตุลาคม 2554

บรรหาร ลิลา, 2554. การลดปัญหารอยบุบของฝาครอบด้านบนในกระบวนการประกอบฮาร์ดดิสก์ด้วยวิธี DMAIC.การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2554 20-21 ตุลาคม 2554

วสันต์ พุกผาสุก, 2551. การลดของเสียจากกระบวนการชุบโครเมียมโดยประยุกต์ใช้วิธีการชิกซ์ ซิกม่า :

กรณีศึกษาบริษัทในอุตสาหกรรมชุบโครเมียม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค. 2551

พงศ์ สกุลพุกผาสุก, 2550. การลดของเสียจากกระบวนการชุบโครเมียม โดยการประยุกต์ใช้วิธีการชิกซ์ ชิกม่ากรณีศึกษาบริษัทในอุตสาหกรรมชุบโครเมี่ยม. ภาควิชาวิศกรรมอุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Wichai Chattinnawat, 2008. Methodology of DMAIC with Why-Why Analysis in a Hierarchical Decision Procedure: A Case Study of Quality Improvement of Polarization Maintain and absorption Reducing (PANDA) Fiber Connectors, Journal of Industrial Engineering, ICMIT2008.

วลัยพร เหมโส, 2013. การลดของเสียจากกระบวนการผลิตผ้าเบรครถยนต์โดยประยุกต์ใช้วิธีการ DMAIC. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Nabeel Mandahawia, Rami H. Fouad*,a, Suleiman Obeidata, 2012. An Application of Customized Lean Six Sigma to Enhance Productivity at a Paper ManufacturingCompany. Industrial EngineeringDepartment, Faculty of Engineering, Hashemite University, Zarqa13115, Jordan

นายธีระพงษ์ บุญสมปอง และณฐา คุปตัษเฐียร. การลดปัญหาทูมสโตน คอมโพเน้นท์ โดยใช้แนวทางซิกส์ ซิกมากรณีศึกษา : กระบวนการประกอบแผ่นวงจรชนิดอ่อน. คณะวิศวกรรมสาสตร์สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Anup A.Junankar1, P.N Shende2,Minimization Of Rework In Belt Industry Using DMAIC. Department of Mechanical Engineering,Engineering College, Nagpur

วชิรพงษ์ สาลีสิงห์. 2548. ปฏิวัติกระบวนการทำงานด้วยเทคนิค SixSigma ฉบับ Champion และ Black

Belt บ.ศิริวัฒนาอินเตอร์พรินท์ จำกัด(มหาชน),กรุงเทพๆ.

วิทยา สุหฤทดำรง และก้องเดชา บ้านมะหิงษ์. 2545. Six Sigma กลยุทธ์การสร้างผลกำไรขององค์กรระดับโลก.สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพๆ.