เทคนิคการขยายแบนด์วิดท์ของสายอากาศช่องเปิดที่ป้อนด้วยท่อนำคลื่นระนาบร่วม สำหรับระบบการสื่อสารไร้สาย

Main Article Content

เทพ เกื้อทวีกุ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอเทคนิคการขยายแบนด์วิดท์ของสายอากาศช่องเปิดที่ป้อนด้วยท่อนำคลื่นระนาบร่วม
สำหรับระบบการสื่อสารไร้สาย โดยใช้เทคนิคการตัดช่องเปิดของสายอากาศให้เป็นขั้นบันได และการแทรกแผ่นสตริปลงในช่องเปิดของสายอากาศเพื่อขยายแบนด์วิดท์ให้มากขึ้น และทำการจำลองโครงสร้างของสายอากาศ โดยนำเอาระเบียบวิธีเชิงตัวเลขมาใช้ในการวิเคราะห์ด้วยวิธีระเบียบวิธีผลต่างสืบเนื่องจำกัดในโดเมนเวลา (FDTD) และนำมาเปรียบเทียบวิธี MoM ด้วยโปรแกรม IE3D ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างของสายอากาศได้หลากหลายรูปแบบและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ในการออกแบบสายอากาศนี้จะทำการวิเคราะห์พารามิเตอร์ของสายอากาศบางตัว เพื่อดูคุณสมบัติของสายอากาศ ประกอบด้วย การสูญเสียเนื่องจากการสะท้อนกลับ (S11)  แบนด์วิดท์ อินพุตอิมพีแดนซ์ (Zin) อัตราส่วนแรงดันคลื่นนิ่ง (VSWR)  ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า  สนามแม่เหล็ก  สนามไฟฟ้า การแพร่กระจายคลื่นสนามระยะไกล และ อัตราขยาย ตามลำดับ ผลที่ได้จากการจำลองจะได้ความถี่ และแบนด์วิดท์ครอบคลุมมาตรฐานของโครงข่ายท้องถิ่นไร้สายคือ IEEE 802.11 b/g (2.4-2.4835 GHz) IEEE 802.11j (4.9-5.0 GHz) IEEE802.11 a (5.150-5.350GHz) และโครงข่าย WiMAX (2-6 GHz) นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาสายอากาศเพื่อนำไปใช้งานกับย่านความถี่แบบแถบกว้างยิ่ง (UWB) โดยมีแบบรูปการแผ่พลังงานสนามระยะไกลเป็นแบบสองทิศทาง

Article Details

How to Cite
เกื้อทวีกุ เ. (2015). เทคนิคการขยายแบนด์วิดท์ของสายอากาศช่องเปิดที่ป้อนด้วยท่อนำคลื่นระนาบร่วม สำหรับระบบการสื่อสารไร้สาย. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 1, 43–54. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242055
บท
บทความวิจัย

References

Federal Communications Commission, 2002. “First Report and Order, Revision of Part 15 of the Commission’s Rules Regarding Ultra-Wideband Transmission Systems,” FCC.

C. A. Balanis, 2005. Antenna theory analysis and design, third editions, John Wiley & Son, Inc.

R. Garg, P. Bhartia, I. Bahl and A. Ittipiboon, 2001. Microstrip Antenna Handbook, Boston: Artech House.

I. J. Bahl, and P. Bharita, 1980. Microstrip Antenna, Dedham: Arthech House.

K. F. Lee and W. Chen, 1997. Advances in Microstrip and Printed Antennas, New York John Wiley & Sons, Inc.

W. Kueathaweekun, N. Anantrasirichai, J. Nakasuwan, and T. Wakabayashi, 2007. “Broadband Slot Antenna Fed by Microstrip Line”, ICEAST , 21-23 November, Thailand.

Y. Shih-Huang and W. Kin-Lu, 2002. “Dual-band F-Shaped Monopole Antenna for 2.4/5.2 GHz WLAN Application”, IEEE Antennas and Propagation Society International Symposium, vol. 4, Jun.

H. D. Chen, J. S. Chen, and Y. T. Cheng, 2007. “Modified Inverted-L Monopole Antenna for 2.4/5.2 GHz Dual-Band Operations,” Electron. Letter, Vol.39:1567-1568.

C. Horng-Dean, 2003. “Slot Antenna Coupled by Microstrip Line for Dual Frequency,” IEEE Trans. on Antennas and Propagation, Vol. 51, No. 8:1982-1986.

P. Jearapraditkul, W. Kueathaweekun, N. Anantrasirichai, O. Sangaroon and T.

Wakabayashi, “Bandwidth Enhancement of CPW–Fed Slot Antenna with Inset Tuning Stub”, ISCIT, 21-23 October, Vientiane, Lao.

W. Kueathaweekun, P. Jearapraditkul, N. Anantrasirichai, O. Sangaroon, and T.

Wakabayashi, 2008. “Wide-band CPW-fed Slot Antenna with Tuning Stub and π-Strip for WLAN/WiMAX Application”, ISPACS, 8-11 December, Bangkok, Thailand.

Zeland Software, Inc., IE3D, New York.

Yongxi Qian, Tatsuo Itoh, 1999. “FDTD Analysis and Design of Microwave Circuits and antennas Software and Applications”, Tokyo: Realize Inc.