แนวทางการเตรียมตัวเข้าทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนของแรงงานฝีมือด้านงานก่อสร้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง แนวทางการเตรียมตัวเข้าทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนของแรงงานฝีมือด้านงานก่อสร้างมีวัตถุ ประสงค์เพื่อ ศึกษากลุ่มประเทศอาเซียนที่แรงงานฝีมือด้านงานก่อสร้างสนใจ จัดอันดับความต้องการของแรงงาน เพื่อนำมาศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมของแรงงานฝีมือด้านงานก่อสร้าง จัดอันดับความสำคัญของการพัฒนา และการเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและทัศนคติในการดำรงชีวิตในต่างประเทศ และเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความมั่นใจเบื้องต้นในการเตรียมตัวเดินทางและสถานที่ติดต่อทางราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษา ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านงานก่อสร้าง และสร้างความมั่นใจในการดำรงชีวิตในต่างประเทศ จากการศึกษาเรื่องแนวทางการเตรียมตัวเข้าทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนของแรงงานฝีมือด้านงานก่อสร้าง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 สอบถามถึงประเทศที่สนใจที่จะเดินทางไปทำงานในอาเซียน ชุดที่ 2 เป็นการสอบถามถึงข้อมูลส่วนตัว การเดินทาง การเตรียมความพร้อม และหน่วยราชการที่สามารถติดต่อได้ เก็บข้อมูลโดยการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในชั้นปีสุดท้าย ของโรงเรียนวิชาชีพของภาครัฐและเอกชน จำนวน 6 โรงเรียน ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย เพื่อจัดอันดับแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านงานก่อสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกที่จะเดินทางไปทำงานที่ประเทศสิงค์โปรร้อยละ 46.67 เพราะอัตราการจ้างงานที่สูง ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต และความสงบของประเทศ ข้อมูลเรื่องความต้องการที่จะเดินทางผู้ตอบแบบสอบถาม สนใจที่จะเดินทางโดยบริษัทจัดหางานจัดส่ง เป็นผู้ส่งเข้าทำงานที่ต่างประเทศ ข้อมูลเรื่องกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ผู้ตอบแบบสอบถามรู้จักหน่วยงานในระดับปานกลาง เท่ากับ 2.73 แสดงถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้จักถึงหน่วยงานที่สามารถช่วยเหลือพอควร ข้อมูลเรื่องทักษะที่จำเป็นในด้านของมาตรฐานแรงงานฝีมือด้านงานก่อสร้าง ผู้ตอบแบบสอบถาม มีประสบการณ์ในการทำงานอยู่ในระดับน้อย เท่ากับ 2.59 แสดงถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีประสบการณ์ในการทำงานที่น้อย อาจจะเป็นอุปสรรคในการหางาน และข้อมูลเรื่องการเตรียมความพร้อมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพร้อมด้านภาษาการสื่อสารอยู่ในระดับที่ น้อย เท่ากับ 2.55 แสดงถึง การเตรียมความพร้อม ควรเน้นเรื่องการใช้ภาษา และการสื่อสาร ซึ่งสรุปได้ว่าแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านงานก่อสร้างควรเน้นในเรื่องการทำความรู้จักกับหน่วยงานราชการที่สามารถติดต่อไปทำงานที่ต่างประเทศ และระหว่างอยู่นอกประเทศ เพื่อการทำงานในต่างประเทศอย่างสะดวกและถูกกฎหมาย เพิ่มความรู้ความสามารถด้านการทำงานเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานที่มากขึ้น และเพิ่มทักษะการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารเพื่อการทำงานและดำรงชีวิต
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, 2556. ชี้เปิดเสรี อาเซียน แรงงานไทย 7 สาขาเสี่ยงถูกแย่งอาชีพ (ออนไลน์). แหล่งที่มาhttp://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000066432&TabID=3& (10 มกราคม 2550).
กิตติพงษ์ อินทโฉม. 2556 เปิดเสรีอาเซียน แรงงาน มีอัตราแข่งขันสูง (ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://thainews.prd.go.th/centerweb/Archive/Ne wsDetail?NT01_NewsID=WNRPT5606060010 001 (10 มกราคม 2557)
พจนา วไล. 2554 นิยาม แรงงาน อย่างที่ควรจะเป็นเพื่อมองคนให้เป็นคน (ออนไลน์). แหล่งที่มา:http://prachatai.com/journal/2011/02/32984. (10 มกราคม 2557).
ชาญโชติ ชมพูนุช.(2555). “ความหมายของแรงงาน” (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://www.gotoknow.org/posts/504753. (6 พฤศจิกายน 2556).
โกวิท วรพิพัฒน์ 2556 สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=28 95&title=%A1%D2%C3%BE%D1%B2%B9% B9%E1%C5%D0%CD%D8%BB%A1%C3%B 3%EC%A1%D2%C3%BC%C5%D4%B5 (10 มกราคม 2557).
สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครปฐม. 2557 ใบคำแนะนำการขอรับสิทธิประโยชน์. กองทุนช่วยเหลือคนหางาน. นครปฐม: สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครปฐม.
นิวัติ กุลศรี. 2548 การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ของคนงานก่อสร้าง ด้านงานปูนละงานไม้ :กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พลัส คอน สตรัคชั่น จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
กีรติ สีมากุล 2555 ผลกระทบของการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศต่อการจ้างงานของประเทศในอาเซียน. วิทยานิพนธ์ (เศรษฐศาสตรมหา บัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2553). การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียน วิจัยตลาดแรงงานกรมจัดหางาน. กระทรวงแรงงาน, กรุงเทพมหานครฯ.(ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://research.mol.go.th/2013/rsdat/prg/eachview.php?okey=LHTMGX1&prg=srech.php&optionradio=PJname&xkw=%A1%D2%C3%E0%A4%C5%D7%E8%CD%B9%C2%E9%D2%C2%E1%C3%A7%A7%D2%B9&Page=1
ณัฐพงษ์ ฤทธิ์เดช. (2556). การศึกษาผลิตภาพแรงงานของกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วิทยานิพนธ์ (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
Bart Pegge (2550) LABOUR MIGRATION POLICY FOR THE NETHERLANDS A STUDY ON SKILL IMPORT TO MEET LABOUR DEMAND (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://essay.utwente.nl/57983/1/scriptie_Pegge.pdf (26 กุมภาพันธ์ 2557).