คุณสมบัติเบื้องต้นของเพสต์ มอร์ต้าร์ และคอนกรีตผสมสารเพิ่มกำลังอัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นของคอนกรีตผสมสารเพิ่มกำลังอัด โดยใส่เพิ่มสารเพิ่มกำลังอัด (Addition) และโดยการแทนที่สารเพิ่มกำลังอัด (Replacement) ร้อยละ 5.5, 6.5 และ 7.5 โดยน้ำหนักในปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 (OPC) ผลการศึกษา พบว่า การขยายตัวออโตเคลฟของเพสต์ผสมสารเพิ่มกำลังอัดมีค่าน้อยกว่าของ OPC ล้วน โดยการขยายตัวออโต
เคลฟของเพสต์ Replacement มีค่าน้อยกว่าของ Addition และการผสมสารเพิ่มกำลังอัดในปริมาณที่มากให้ค่าการขยายตัวออโต
เคลฟมากขึ้น ส่วนการขยายตัวในสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ของมอร์ต้าร์ผสมสารเพิ่มกำลังอัดมีค่ามากกว่าของ OPC ล้วน โดยการขยายตัวในสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ของมอร์ต้าร์ Replacement มีค่าน้อยกว่าของ Addition และการใส่สารเพิ่มกำลังอัดในปริมาณที่มากให้ค่าการขยายตัวในสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์มากขึ้น นอกจากนี้ พบว่า คอนกรีตผสมสารเพิ่มกำลังอัดมีทั้งค่าการยุบตัวและการสูญเสียค่าการยุบตัวน้อยกว่า ในขณะที่ค่าการก่อตัวมีค่ามากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับของ OPC ล้วน โดยการผสมสารเพิ่มกำลังอัดในปริมาณที่ต่างกันให้ทั้งค่าการยุบตัว การสูญเสียค่าการยุบตัว และการก่อตัวของคอนกรีตที่ไม่แตกต่างกัน สุดท้ายพบว่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีต Addition มีค่ามากกว่า ในขณะที่ของ Replacement มีแนวโน้มต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับของ OPC ล้วน โดยทั้งคอนกรีต Addition และ Replacement เมื่อใส่สารเพิ่มกำลังอัดในปริมาณที่ต่างกันให้กำลังอัดประลัยที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนกำลังดึงของคอนกรีตผสมสารเพิ่มกำลังอัดนั้นมีค่าใกล้เคียงกับของ OPC ล้วน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
Panthep Julnipitawong and Somnuk Tangtermsirikul, Investigation on Performance of Concrete and Mortar Using Active Chemical Compound Rockfil-HSM, Final Report Submission to BKG Group Corporation, 2013.
Panthep Julnipitawong and Somnuk Tangtermsirikul, A Study on Effect of Strength Accelerating Compound on Properties of Concrete and Mortar, volume 2, No. 1, January – June 2014, pp. 17-29.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม,
มอก. 15 - 2555: มาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, เล่ม 1 ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ, กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2555.
American Society for Testing and Materials,
ASTM C 151/C 151M – 15: Standard Test Method for Autoclave Expansion of Hydraulic Cement, Annual Book of ASTM Standards, 2015.
American Society for Testing and Materials, ASTM C 1038 - 04: Standard Test Method for Standard Test Method for Expansion of Hydraulic Cement Mortar Bars Stored in Water, Annual Book of ASTM Standards, 2004.
American Society for Testing and Materials, ASTM C 143/C 143M - 98: Standard Test Method for Slump of Hydraulic-Cement Concrete, Annual Book of ASTM Standards, 1998.
American Society for Testing and Materials, ASTM C 403/C 403M - 99: Standard Test Method for Time of Setting of Concrete Mixtures by Penetration Resistance, Annual Book of ASTM Standards, 1999.
British Standard Institute, BS 1881: Part 108 Method of Making Test Cube from Fresh Concrete, London, 1983.
American Society for Testing and Materials, ASTM C 78 - 94: Standard Test Method for Flexural Strength of Concrete (Using Simple Beam with Third-Point Loading), Annual Book of ASTM Standards, 1994.
ปริญญา จินดาประเสริฐ และชัย จตุรพิทักษ์กุล, ปูนซีเมนต์ ปอซโซลาน และคอนกรีต, พิมพ์ครั้งที่ 5, สมาคมคอนกรีตไทย, พ.ศ. 2551.