การศึกษาและทดสอบเครื่องแกะเมล็ดบัวหลวง
Main Article Content
บทคัดย่อ
เครื่องแกะเมล็ดบัวหลวงได้ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อลดเวลาและแรงงานในการแกะเมล็ดบัวหลวงของเกษตรกร เครื่องต้นแบบประกอบด้วย โครงสร้างเครื่อง ชุดใบมีดกรีด กลไก Scotch Yoke ระบบส่งกำลัง และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 0.25 แรงม้า เป็นต้นกำลัง การทำงานของเครื่องเริ่มจากผู้ควบคุมเครื่องป้อนเมล็ดบัวหลวงลงในช่องป้อนทางด้านบนของเครื่อง หลังจากนั้นเมล็ดบัวหลวงจะถูกลำเลียงเข้าไปในชุดใบมีดกรีดโดยการเคลื่อนที่ของกลไก Scotch Yoke ซึ่งชุดใบมีดกรีดทำหน้าที่กรีดตัดเปลือกตามแนวเส้นรอบวงของเมล็ดบัวหลวงและปล่อยให้เมล็ดบัวหลวงร่วงสู่ช่องทางออกทางด้านล่างของเครื่อง จากการทดสอบที่ความเร็วเฉลี่ยของชุดใบมีดกรีดที่ 7.5, 8.5 และ 9.5 เมตรต่อนาที ตามลำดับ พบว่าเครื่องแกะเมล็ดบัวหลวงต้นแบบสามารถทำงานได้ดีที่ความเร็วเฉลี่ยของชุดใบมีดกรีด 7.5 เมตรต่อนาที มีเปอร์เซ็นต์ในการแกะเมล็ดบัว 79.8% เมล็ดบัวไม่มีความเสียหาย มีความสามารถในการทำงาน 2±0.21 กิโลกรัมต่อชั่วโมง อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า 0.8 กิโลวัตต์-ชั่วโมง จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมพบว่าเมื่อใช้เครื่องแกะเมล็ดบัวหลวง 1,440 ชั่วโมงต่อปี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของเครื่อง 6.9 บาทต่อกิโลกรัม ระยะคืนทุน 11.4 เดือน และจุดคุ้มทุน 185.3 ชั่วโมงต่อปี
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
กมลวรรณ เตชะวณิช. 2554. คู่มือปลูกและดูแลดอกบัว ราชินีไม้น้ำ-ประดับสวนสวย. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ 128 หน้า
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2554. สถานการณ์การผลิตบัว. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:http://www.doae.go.th/LIBRARY/.
(24 มกราคม 2555).
ทวีพงศ์ สุวรรณโร. 2550. การทำนาบัว. เอกสารอิเล็กทรอนิกส์. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 12 หน้า
นิรนาม. 2559. นครพนมพลิกวิกฤต ทำนาบัวพืชศก. ขายดีโกยรายได้เดือนละ 3-4 หมื่นบาท. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http:// http://www.matichon.co.th/news.
(23 เมษายน 2559).
สุจิต เมืองสุข. 2559. กว่าจะมีวันนี้ ชาวปากคาด บึงกาฬ สู้ชีวิตลองผิดลองถูกปลูกบัวเก็บฝักขาย ฝักละบาท กำละสิบ เป็นอาชีพภาคภูมิใจ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid. (25 พฤษภาคม 2559).
พรพรรณ วิจิตรวิทยาพงศ์. 2552. เมล็ดบัวแปรรูปที่พิจิตร สร้างงานเงิน ให้ชาวบึงสีไฟ. คอลัมน์ ชุมชน เข้มแข็ง หนังสือพิมพ์มติชน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.matichon.co.th/matichon/view_news. (24 มกราคม 2555).
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ สุนัน ปานสาคร และ ภูรินทร์ อัครกุลธร. 2558. การศึกษาและทดสอบเครื่องนวดเมล็ดบัวหลวง. วารสารแก่นเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-มีนาคม 2558.
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ สุนัน ปานสาคร และภูรินทร์ อัครกุลธร. 2557. การพัฒนาเครื่องแทงดีบัว. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557).
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ ภูรินทร์ อัครกุลธร ประมวล สุขพัฒน์ ลือชา เนตรศรีไพบูลย์ และธัมจักร พูลประเสริฐ์. 2552. การออกแบบและพัฒนาเครื่องแกะเมล็ดบัวหลวง, เอกสารรวบรวมผลงานโครงงานที่ได้รับทุนวิจัยโครงการ IRPUS ประจำปี 2552.
ประเสริฐ วิโรจน์ชีวัน, สมใจ เพียรประสิทธิ์ และ นนทโชติ อุดมศรี. 2557. การพัฒนาเครื่องแกะเมล็ดบัว. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 28 (15-17 ตุลาคม 2557).
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์. 2555. ออกแบบและเขียนแบบวิศวกรรมด้วยโปรแกรม SolidWorks (ฉบับเรียนลัดด้วยตัวเอง). สำนักพิมพ์ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด. 192 หน้า.
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์. 2558. ทฤษฏีของเครื่องจักรกลเกษตร. สำนักพิมพ์ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ. 320 หน้า.
Krutz, G., Thomson, L. and Claar, P. 1994. Design of Agricultural Machinery. John Wiley and Sons. New York Chicheter Brisbne, Toronto, Sigapore. 472 P.
Shigley, J.E. and Mischke, C.R. 1989. Mechanical Engineering Design. 5th Edition, McGraw-Hill Book Company, USA. 779 P.
Hunt, D. 2001. Farm Power and Machinery. (10th Edition). Ames, Iowa, USA: Iowa State University Press. 360 P.