การใช้ประโยชน์เศษเมลามีนเป็นมวลรวมละเอียดในคอนกรีตมวลเบา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการใช้ประโยชน์เศษเมลามีนที่เป็นของเสียจากอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร โดยเศษ
เมลามีนจากอุตสาหกรรมถูกนำมาแทนที่ทรายร้อยละ 25 โดยน้ำหนัก ด้วยอัตราส่วนเศษเมลามีนแบบเม็ดต่อแบบฝุ่นเท่ากับ 100:0, 90:10, 85:15, 75:25, 50:50 และ 0:100 กำหนดอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.5 ควบคุมความหนาแน่น 1,100 kg/m3 และ 1,300 kg/m3 ชิ้นตัวอย่างอายุบ่ม 28 วัน จะถูกทดสอบกำลังรับแรงอัด การดูดซึมน้ำ และการนำความร้อน ผลการทดสอบพบว่าคอนกรีตมวลเบาผสมเศษเมลามีนให้กำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับคอนกรีตมวลเบาควบคุม การเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงอัดมีสาเหตุมาจากขนาดคละที่ดีขึ้น รูปร่าง พื้นผิวสัมผัสของเศษเมลามีนที่มีรูปร่างมีเหลี่ยมมุมและมีผิวสัมผัสหยาบ การดูดซึมน้ำของคอนกรีตมวลเบาผสมเศษเมลามีนมีค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเศษเมลามีนมีค่าการดูดซึมน้ำมากกว่าทราย การนำความร้อนของคอนกรีตมวลเบาผสมเศษเมลามีนมีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราส่วนเศษเมลามีนแบบเม็ดต่อแบบฝุ่น 90:10 เป็นสูตรผสมที่มีกำลังรับอัด และการดูดซึมน้ำผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ (มอก. 2601-2556) ทั้งสองความหนาแน่น และสามารถที่จะรีไซเคิลเศษเมลามีนได้ทั้งสองรูปแบบ โดยเฉพาะเศษเมลามีนแบบเม็ดที่มีปริมาณมากในกระบวนการผลิต ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าเศษเมลามีนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงสมบัติคอนกรีตมวลเบาให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นและลดการใช้ทราย โดยใช้ประโยชน์ของเสียโดยการนำกลับมาใช้ใหม่และสามารถพัฒนาต่อยอดให้ผลิตคอนกรีตมวลเบาในเชิงพาณิชย์ต่อไป
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
Siwadamrongpong S. & Aphirakmethawong, J., (2015). Effect of Particle Size and Content of Waste Melamine Formaldehyde on Mechanical Properties of High Density Polyethylene Composites. In The 9th South East Asian Technical University Consortium (SEATUC). Suranaree University of Technology, 27-30 July 2015 Surasammanakarn
Hasan S. Dweik, Mohamed M. Ziara and Mohamed S. Hadidoun, (2008). Enhancing Concrete Strength and Thermal Insulation Using Thermoset Plastic Waste. International Journal of Polymeric Materials and Polymeric Biomaterials Volume 57,635-656
C. Albano, N. Camacho, M. Hernández, A. Matheus, A. Gutiérrez, (2009). Influence of content and particle size of waste pet bottles on concrete behavior at different w/c ratios. Waste Management 29, 2707-2716.
Semiha AkÇaözoğlu, Cengiz Duran Atiş, Kubilay AkÇaözoğlu, (2010). An investigation on the use of shredded waste PET bottles as aggregate in lightweight concrete. Waste management 30, 285-290.
Amir M. Azhdarpour, Mohammed R. Nikoudel, Milad Taheri., (2016). The effect of using polyethylene terephthalate particles on physical and strength-related properties of concrete; a laboratory evaluation. Construction and Building Material 109, 55-62.
Phaiboon P., Mallika P., (2007). Reuse of thermosetting plastic waste for lightweight concrete. Waste Management 28, 1581-1588.
Khamphee J., Theerawat S., Prinya C., (2011). Cellular Lightweight Concrete Containing Pozzolan Materials. Procedia Engineering 14, 1157–1164.
Chaitongrat, C. & Siwadamrongpong, S. (2018). Recycling of melamine formaldehyde waste as fine aggregate in lightweight concrete. Songklanakarin Journal of Science and Technology Vol. 40 No. 1 (January-February, 2018). IN PRESS