การประเมินความเสียหายของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้แผ่นดินไหว ด้วยข้อกำหนด FEMA 356 และ มยผ.1303-57

Main Article Content

สุธน รุ่งเรือง
วิศวินทร์ อัครปัญญาธร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เน้นไปที่การเปรียบเทียบผลการประเมินความเสียหายภายใต้แรงแผ่นดินไหวด้วยข้อกำหนด FEMA 356 และ มยผ.1303-57 ของโครงสร้างอาคารตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 และ 8 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารพักอาศัยรวมในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว ด้วยโปรแกรมทางไฟไนต์อิลิเมนต์ อาคารตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 และ 8 ชั้น เป็นโครงสร้างระบบโครงข้อแข็งคาน-เสา รูปร่างของอาคารมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีความสูงรวม 14.95 และ 25.75 เมตร ตามลำดับ การวิเคราะห์โครงสร้างเป็นแบบ 3 มิติ วิเคราะห์ด้วยวิธีพลศาสตร์เชิงเส้น (LDP) โดยใช้วิธีสเปกตรัมการตอบสนองแบบโหมด (RSA) และกำหนดให้ฐานรองรับของแบบจำลองโครงสร้างเป็นฐานรองรับแบบยึดแน่น จากการศึกษาพบว่าอาคารตัวอย่างทั้งสองมีระดับสมรรถนะของอาคารอยู่ในระดับป้องกันการพังทลาย (Collapse Prevention Level; CP) ค่าเกณฑ์การยอมรับระดับสมรรถนะในคานของทั้งสองข้อกำหนดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ค่าเกณฑ์การยอมรับระดับสมรรถนะในเสาของทั้งสองข้อกำหนดมีความแตกต่างกัน โดยเกณฑ์การยอมรับระดับสมรรถนะในเสาของ มยผ.1303-57 มีค่ามากกว่า 0% - 20.70% สำหรับเกณฑ์การยอมรับระดับเข้าใช้อาคารได้ทันที (Immediate Occupancy Level; IO) และมีค่ามากกว่า 0% - 20.4% สำหรับเกณฑ์การยอมรับระดับปลอดภัยต่อชีวิต (Life Safety Level; LS) เมื่อเทียบกับค่าเกณฑ์การยอมรับระดับสมรรถนะของ FEMA 356 ในขณะที่เกณฑ์การยอมรับระดับ CP ในเสาของ มยผ.1303-57 มีค่าน้อยกว่า 0% - 13.33% เมื่อเทียบกับค่าเกณฑ์การยอมรับระดับสมรรถนะของ FEMA 356

Article Details

How to Cite
รุ่งเรือง ส. . ., & อัครปัญญาธร ว. . . (2018). การประเมินความเสียหายของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้แผ่นดินไหว ด้วยข้อกำหนด FEMA 356 และ มยผ.1303-57. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 16(2), 59–69. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/241948
บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Interior. Notification of Ministry of Interior No.49 (1997) Bearing Capacity, Resistance and Durability of Building to Resist Vibration & Earthquake. Bangkok; 1997. (in Thai)

Ministry of Interior. Notification of Ministry of Interior No.50 (2007) Bearing Capacity, Resistance and Durability of Building to Resist Vibration & Earthquake. Bangkok; 2007. (in Thai)

Department of Public Works and Town & Country Planning. Standard for Building Design to Resist Vibration of Earthquake (DPT.1302). Bangkok; 2009. (in Thai)

Department of Public Works and Town & Country Planning. Standard for Building Design to Resist Vibration of Earthquake (DPT.1301-54). Bangkok; 2011. (in Thai)

Nutalai P, Chintanapakdee C. Building Damage and Loss Assessment for Bangkok Area due to Earthquake. Proceedings of the 19th National Convention on Civil Engineering. 2014;19:351-358. (in Thai)

Federal emergency management agency (FEMA). Prestandard and commentary for the seismic rehabilitation of buildings (FEMA 356). Washington D.C.; 2000.

Department of Public Works and Town & Country Planning. Standard for Evaluation and Rehabilitation of Building Structures in the District Vibration of Earthquake (DPT.1303-57). Bangkok; 2014. (in Thai)

Chananan W. Comparative Evaluation of Analysis Procedures for Seismic Evaluation of a Reinforced Concrete Building [master’s thesis]. Department of Civil Engineering: Faculty of Engineering: King Mongkut’t Institute of Technology North Bangkok; 2006. (in Thai)

Arckarapunyathorn W, Wongpiyaboworn S. Seismic Evaluation by Guideline of FEMA 356 and DPT.1303-57: Case Study of a Two-Story Reinforced Concrete Building in Chiang Mai. Proceedings of the 4th Suan Sunandha Academic National Conference on Research for Sustainable Development. 2016;4:55-66. (in Thai)