สมการจลนพลศาสตร์การอบแห้งที่เหมาะสมของผลพลับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมการจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งผลพลับที่เหมาะสม ด้วยการทดลองอบแห้งด้วยลมร้อนที่อุณหภูมิ 45oC, 55oC และ 65oC ที่ความเร็วของลมร้อนเท่ากับ 1 m/s ผลพลับที่ใช้มีขนาดของรัศมีเฉลี่ยในช่วง 2.9 ถึง 3.1 เซนติเมตร พลับมีความชื้นเริ่มต้น 470±10% มาตรฐานแห้ง อบแห้งจนพลับมีความชื้นลดลงเหลือ 30± 2 % มาตรฐานแห้ง จากการนำข้อมูลการทดลองมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นด้วยการใช้สมการจลนพลศาสตร์ทางทฤษฎีที่สมมุติให้พลับมีลักษณะเป็นทรงกลม และหาค่าคงที่การอบแห้งด้วยการใช้สมการจลนพลศาสตร์กึ่งทฤษฎีรูปแบบต่าง ๆ และสมการจลนพลศาสตร์เอมพิริคัลตามรูปแบบของ Page การวิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เหล่านี้ใช้การฟิตข้อมูลการทดลองเข้ากับสมการรูปแบบต่างดังกล่าวด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด การหาสมการจลนพลศาสตร์ที่เหมาะสมจะใช้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย และค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยในการตัดสินใจซึ่งพบว่า สมการจลนพลศาสตร์เอมพิริคัลตามรูปแบบของ Page สามารถทำนายพฤติกรรมการลดลงของความชื้นของพลับได้ใกล้เคียงกับข้อมูลการทดลองมากที่สุด
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
Med Thai. “34 Health and Nutrition Benefits of Persimmon” [Cited 31 Oct 2018]. Available from: https://medthai.com/ persimmon.
Karakasova L,Babanovska-Milenkovska F, Lazov M, Karakasov B, Stojanova M. Quality proparties of solar dried persimmon (Diospyros kaki). Journal of Hygienic Engineering and Design. 2013; 4: 54-59.
Kirdsaeng P. Development of a quality of the Persimmon in Hyakuma variety for sale as Non Astringent Persimmon. Journal of Kasetsart News. 2010; .56(1): 1-12. (in Thai)
Achariyiviriya S, Achariyiviriya A, Chunkaew P. Evaluation of technology transfer to rural communities for drying using LPG and solar energy cabinet dryer. International Journal of Agricultural Technology. 2014; 10(5): 1139-1150.
Chunthaworn S, Achariyaviriya A, Achariyaviriya S. Physical and thermal properties of persimmon fruit. Engineering Journal Chiangmai University. 2016; 23(1): 73-84
Poomsa-ad N, Wiset L, Tipsanprom W, Rudchapo T. Thin-layer drying equations of Mango (Nam Dok Mai) under hot air drying Using Air Carbon Dioxide and Nitrogen Gas Agricultural Science Journal. 2009; 40(1): 445-448. (in Thai)
Doymaz, I. Evaluation of some thin-layer drying models of persimmon slice (Diospyros kaki L.) Energy Conversion and Management, Vol 56: 199-205.
Zhu A, Shen X, The model and mass transfer characteristics of convection drying peach slices. International Journal of Heat and Mass Transfer. 2014; 72: 345-351.
Somjai T, Namsanguan Y, Achariyaviriya S, Achariyaviriya A. Drying kinetics and quality of longan dried by two-stage superheated steam and hot air dryers. The proceedings of the 5th asia-pacific drying conference, Hong Kong China. 13 – 15 August 2007; 1: 166-171.
Nuthong P, Achariyaviriya A, Namsanguan K, Achariyaviriya S. Kinetics and modeling of whole longan with combined infrared and hot air. Journal of Food Engineering. 2011; 102(3): 233-239.
Chunthaworn S, Achariyaviriya S, Achariyaviriya A, Namsanguan K. Drying Kinetic of longan flesh Using high temperature. The 6th Conference on Energy Network of Thailand, Phetchaburi, Thailand. May 5-7, 2010: ENETT6-1020. (in Thai)
Mongkolkerd K, Achariyaviriya S. Effective diffusion coefficient of okra during hot air drying. Journal of Interdisciplinary Networks. 2013; 2 (Special Issue No. 1): 19-25.
Ketwijitchai T. Development of mathematical model of Persimmon fruit drying parameters. Master thesis of Engineering (Energy Engineering), Chiangmai university. 2016.