การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำระบายของหอหล่อเย็น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำระบายของหอหล่อเย็น โดยออกแบบและสร้างแบบจำลองการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก ใช้กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด มาทำการทดสอบที่อัตราการไหล 300 ถึง 2,000 ลิตรต่อชั่วโมง จำลองระบบให้คล้ายกับการระบายน้ำทิ้งของหอหล่อเย็นจากโรงไฟฟ้า โดยการจ่ายน้ำ ให้กับกังหันน้ำ ในแนวดิ่งที่ความสูง 1, 1.5 และ 2 เมตร ผลการทดลอง พบว่า กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า แบบ Impulse turbine สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด ที่อัตราการไหล 1,000 ลิตรต่อชั่วโมง กำลังไฟฟ้าเฉลี่ย 1.05, 1.07 และ 1.15 วัตต์ ที่ความสูง 1, 1.5 และ 2 เมตร ตามลำดับ กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า แบบ Pelton turbine สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด ที่อัตราการไหล 1,300 ลิตรต่อชั่วโมง กำลังไฟฟ้าเฉลี่ย 10.11, 10.37 และ 10.4 วัตต์ ที่ความสูง 1, 1.5 และ 2 เมตร ตามลำดับ และกังหันน้ำผลิตไฟฟ้า แบบ Water wheel turbine สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด ที่อัตราการไหล 2,000 ลิตรต่อชั่วโมง กำลังไฟฟ้าเฉลี่ย 0.57, 0.68 และ 0.83 วัตต์ ที่ความสูง 1, 1.5 และ 2 เมตร ตามลำดับ ภายใต้เงื่อนไขที่ทดสอบ พบว่า กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า ประเภท Pelton turbine เหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งผลงานวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการผลิตกระแสไฟฟ้า จากน้ำทิ้งระบายของหอหล่อเย็นในโรงไฟฟ้าได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
Uchiyama T, Honda S, Okayama T, Degawa T. A feasibility study of power generation from sewage using a hollowed pico-hydraulic turbine. Engineering. 2016;2(4):510-7.
Bousquet C, Samora I, Manso P, Rossi L, Heller P, Schleiss AJ. Assessment of hydropower potential in wastewater systems and application to Switzerland. Renewable energy. 2017;113:64-73.
Division of environmental impact assessment development. Office of natural resources and environmental policy and planning. [Internet]. 2024 [cited 2024 Oct 17]. Availability From: https://eia.onep.go.th
Kaewrattanasripho P. Simulation of the generating lectricity from water turbines using the LabVIEW. Journal of Applied Research on Science and Technology (JARST). 2022;21(2):117-25.
Pornchaloempong P. Cooling tower. [Internet]. 2024 [cited 2024 Apr 19]. Availability From: https://www.foodnetworksolution.com//wiki/word/6132/cooling-tower-หอทำความเย็น
Wikipedia. Water turbine. [Internet]. 2024 [cited 2024 Aug 26]. Availability From: https://th.wikipedia.org/wiki/waterturbine
Cobb BR, Sharp KV. Impulse (Turgo and Pelton) turbine performance characteristics and their impact on pico-hydro installations. Renewable energy. 2013;50:959-64.
Walker T, Duquette J. Performance evaluation of a residential building-based hydroelectric system driven by wastewater. Sustainable Cities and Society. 2022;79:103694.
Williamson SJ, Stark BH, Booker JD. Low head pico hydro turbine selection using a multi-criteria analysis. Renewable Energy. 2014;61:43-50.