การวัดสนามความเครียดในการดึงทดสอบวัสดุโดยใช้วิธีดิจิทัลอิมเมจคอร์รีเลชั่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาวิธีดิจิทัลอิมเมจคอร์รีเลชั่น (ดีไอซี) ในการวัดสนามความเครียดเป็นวิธีการที่มีประโยชน์มากสำหรับการดึงทดสอบวัสดุ เพราะเป็นวิธีที่ไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นงานในระหว่างการวัด หลากหลายงานศึกษาได้ใช้ ซับพิกเซลอัลกอริทึมของวิธีดีไอซีในการเพิ่มความแม่นยำให้กับการวัด แต่ยังมีรายงานการศึกษาถึงความคลาดเคลื่อนจากการวัดโดยวิธีนี้น้อยมาก ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้จะทำการพัฒนาซับพิกเซลอัลกอริทึมที่สร้างบนพื้นฐานของวิธีการนิวตันราฟสัน ซึ่งจะถูกประเมินประสิทธิภาพโดยใช้ภาพลายจุดที่ถูกสร้างจากคอมพิวเตอร์ ขนาดของซับเซตที่ใช้ในการประเมินความแม่นยำประกอบด้วยขนาดเล็ก (21´21 พิกเซล) ขนาดกลาง (31´31 พิกเซล) และขนาดใหญ่ (41´41 พิกเซล) พบว่าซับเซตขนาดเล็กจะให้ค่าความคลาดเคลื่อนเชิงระบบและค่าความคลาดเคลื่อนแบบสุ่มของการกระจัดสูงกว่าขนาดอื่น ไม่ได้มีเพียงแต่ขนาดของซับเซตเท่านั้นแต่ขนาดของจุดมีบทบาทสำคัญต่อความคลาดเคลื่อนเช่นเดียวกัน จากนั้นทำการสาธิตดึงทดสอบวัสดุจริงเพื่อสังเกตผลจากการวัดด้วยวิธีดีไอซีเปรียบเทียบกับอุปกรณ์วัดระยะยืดแบบวีดีโอเอ็กซ์เทนโซมิเตอร์ เทคนิคการปรับให้เรียบถูกใช้ลดสิ่งรบกวนที่เกิดขึ้นก่อนนำสนามความเครียดมาสร้างกราฟความเค้นความเครียดในช่วงยืดหยุ่นเชิงเส้น ในท้ายที่สุดผลจากการดึงทดสอบวัสดุจริงแสดงให้เห็นว่าวิธีดีไอซีมีศักยภาพเพียงพอที่จะใช้วัดสนามความเครียดและค่ายังมอดูลัส
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
He X, Zhou R, Liu Z, Yang S, Chen K, Li L. Review of research progress and development trend of digital image correlation. Multidiscipline Modeling in Materials and Structures. 2024;20(1):81–114.
Pan B, Tian L. Advanced video extensometer for non-contact, real-time, high-accuracy strain measurement. Optics Express. 2016;24(17):19082-93.
Sánchez-Arévalo FM, Pulos G. Use of digital image correlation to determine the mechanical behavior of materials. Materials Characterization. 2008;59(11):1572–9.
Cruz DJ, Shamchi SP, Santos AD, Amaral RL, Tavares PJ, Moreira P. Development of a mini-tensile approach for sheet metal testing using Digital Image Correlation. Procedia Structural Integrity. 2020;25:316-23.
Quanjin M, Rejab MRM, Halim Q, Merzuki MNM, Darus MAH. Experimental investigation of the tensile test using digital image correlation (DIC) method. Materials Today: Proceedings. 2020;27:757-63.
Zhang ZF, Kang YL, Wang HW, Qin QH, Qiu Y, Li XQ. A novel coarse-fine search scheme for digital image correlation method. Journal of the International Measurement Confederation. 2006;39(8):710–8.
Hung PC, Voloshin AS. In-plane strain measurement by digital image correlation. Journal of the Brazilian Society of Mechanical Sciences and Engineering. 2003;25(3):215-21.
Vendroux G, Knauss WG. Submicron deformation field measurements: part 2. improved digital image correlation. Experimental Mechanics. 1998;38(2):86-92.
Réthoré J, Hild F, Roux S. Shear-band capturing using a multiscale extended digital image correlation technique. Computer Methods in Applied Mechanics and Engineering. 2007;196(49-52):5016-30.
Bing P, Hui-Min X, Bo-Qin X, Fu-Long D. Performance of sub-pixel registration algorithms in digital image correlation. Measurement science and technology. 2006;17(6):1615.
Pan B, Qian K, Xie H, Asundi A. Two-dimensional digital image correlation for in-plane displacement and strain measurement: a review. Measurement science and technology. 2009;20(6):062001.
Sutton MA, Orteu JJ, Schreier H. Image correlation for shape, motion and deformation measurements: basic concepts, theory and applications: Springer Science & Business Media; 2009.
Schreier HW, Sutton MA. Systematic errors in digital image correlation due to undermatched subset shape functions. Experimental mechanics. 2002;42:303-10.
Schreier HW, Braasch JR, Sutton MA. Systematic errors in digital image correlation caused by intensity interpolation. 2000;39(11): 2915-21
Lecompte D, Smits A, Bossuyt S, Sol H, Vantomme J, Van Hemelrijck D, et al. Quality assessment of speckle patterns for digital image correlation. Optics and lasers in Engineering. 2006;44(11):1132-45.