ผลของพารามิเตอร์ควบคุมก๊าซไอเสียของการคาร์บอไนเซชั่นชีวมวลร่วมกับ ขดลวดความร้อนต่อการผลิตถ่านบัวสำหรับการดูดกลิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของพารามิเตอร์ควบคุมก๊าซไอเสียประกอบด้วยอุณหภูมิและความเร็วก๊าซไอเสียของการคาร์บอไนเซชั่นชีวมวลร่วมกับขดลวดความร้อนต่อการผลิตถ่านบัว สำหรับการดูดกลิ่น เครื่องผลิตถ่านดูดกลิ่นถูกสร้าง สำหรับควบคุมสภาวะขนาด 50 × 45 × 35 cm3 สามารถทดสอบฝักบัว 6 ฝัก ก๊าซไอเสียถูกผลิตจากเตาเผาขนาด 100 liter และถูกเพิ่มอุณหภูมิ โดยใช้ขดลวดความร้อนและเตาเผามีการติดตั้งพัดลมที่สามารถควบคุมความเร็วอากาศเข้าเตาเผาได้ ในการทดลองใช้ฝักบัวมีความชื้นเริ่มต้นร้อยละ 86.19±1.67 มาตรฐานเปียกและผลิตเป็นถ่านจนมีความชื้นสุดท้ายร้อยละ 0 มาตรฐานเปียก โดยใช้ตัวแปรควบคุม คือ อุณหภูมิก๊าซไอเสีย 200, 250 และ 300˚C และความเร็วก๊าซไอเสีย 1.22, 1.74 และ 2.27 m/s พบว่า อุณหภูมิก๊าซไอเสีย 200, 250 และ 300˚C ใช้เวลาผลิตถ่านดูดกลิ่น 120, 100 และ 60 นาที ตามลำดับ แต่ที่อุณหภูมิก๊าซไอเสียคงที่และเพิ่มความเร็วก๊าซไอเสียใช้เวลาผลิตถ่านดูดกลิ่นเท่ากัน เนื่องจากวัตถุดิบไม่ได้สัมผัสกับก๊าซไอเสียโดยตรง ซึ่งวัตถุดิบจะถูกบรรจุใว้ในตู้วัตถุดิบอีกชั้นหนึ่ง สำหรับป้องกันไม่ให้บัวเกิดการลุกไหม้จนเปลี่ยนสภาพเป็นเถ้า ส่งผลให้ไอเสียไหลเข้ามาในตู้อบสัมผัสผิวผนังด้านนอกของตู้ใส่วัตถุดิบ ดังนั้นลักษณะการอบแห้งจึงเป็นการอบด้วยการแผ่รังสีความร้อนทำให้ผลการอบแห้งขึ้นอยู่กับตัวแปรอุณหภูมิเพียงตัวแปรเดียว จากนั้นทำการศึกษาค่าการดูดซับไอโอดีน (iodine) และอัตราการใช้พลังงานจำเพาะ พบว่า เมื่ออุณหภูมิและความเร็วก๊าซไอเสียเพิ่มขึ้นทำให้ค่าการดูดซับไอโอดีน (iodine) มีค่าสูงขึ้นและทำให้อัตราการใช้พลังงานจำเพาะ () สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งที่สภาวะ 300˚C ความเร็วก๊าซไอเสีย 2.27 m/s มีค่าการดูดซับไอโอดีน (iodine) สูงสุด 1176.32±21.562 mg/g
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
Mai Ngam Subdistrict Municipality. Nong Bua Public Park of Nong Luang. [Internet]. [28 November 2024]; Available from: Online,. https://www.maingam.go.th/trv-otp-detail?page=4&id=730 (In Thai)
Boonyang K. Developing grassroot economy by creating value of royal lotus of communities in Yokkrabat Subdistrict, Samngao District, Tak Province. Academy Journal of Northern. 2023;10(2):27-43.
Pianjing P, Punyakham P, Prapreud W, Kitprathaung N, Phromsat Ph, Wites J. Development of odor absorbed charcoal lump product from nipa palm fruit. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Science and Technology). 2023;18(2):14-29. (In Thai)
Kengkhetwit C. Investigation of the effect of burning temperature range on physical changes and iodine value in mangosteen odor adsorbing charcoal. [master's thesis]. Bangkok: Mahanakorn University of Technology; 2014. (In Thai)
Sinsaard A. Development of activated charcoal from a coconut shell kiln. Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal. 2017;10(2)95-108. (In Thai)
Li Q, Liu S, Wang L, Chen F, Shao J, Hu X. Efficient nitrogen doped porous carbonaceous CO2 adsorbents based on lotus leaf. Journal of Environmental Sciences. 2021;103:268-78.
Thai Industrial Standards Institute. Community Product Standard for Odor-Absorbing Charcoal (M P Ch. 180/2003) [Internet]. 2013 [24 July 2024]; Available from: https://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/standard1.php (In Thai)
Buaklee A. Design and fabrication of lotus leaves cutting machine. [master's thesis]. Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi; 2018. (In Thai)
Rattanapan S, Pengchaem P, Kongsun P. Preparation and caracterization of mangosteen peel activated carbon. ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports (AJSTR). 2014;17(3):13-21. (In Thai)
Chunkaew P, Tavata A, Khadwilard A, Sriudom Y. Bananas drying performance with a developed hot air dryer using waste heat from charcoal production process. RMUTP Research Journal. 2018;12(1):147-58. (In Thai)
Chunkaew P, Khadwilard A, Thawonngamyingsakul C. Drying bananas with a modified hot air dryer using waste heat from a 200 liter kiln. Research on Modern science and Utilizing Technological Innovation Journal (RMUTI Journal). 2017;10(3):1-12.
Congpupa P, Tapie O, Saadchom P. Effect of drying temperatures on charcoal briquettes drying using a combined solar energy and far-infrared radiation dryer, and a far-infrared radiation dryer. RMUTP Research Journal Sciences and Technology. 2016;10(1):77-93. (In Thai)
Niamsewak P. Comparison of adsorption capacity of activated carbon obtained from different production methods and materials. Science and Technology Nakhon Sawan Rajabhat University Journal. 2010;2(2):11-18. (In Thai)
Somsila P, Buntham E, Homjumpa T. Development of a dryer using biomass as fuel. PSRU Journal of Industrial Technology and Engineering. 2022;4(1):107-24.
Yoomee P. Preparation of high surface area activated charcoal from wood charcoal powder using a dry chemical activation process. KKU Science Journal. 2015;43(4):788-98.