National Framework for Technical and Vocational Education in Thailand Project

Main Article Content

สภัทรา โพธิ์พ่วง

Abstract

โครงการกำหนดกรอบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติ เริ่มดำเนินงานเมื่อ ปี พ.ศ. 2538 ภายใต้ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาลออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนากรอบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติสำหรับประเทศไทย รวมทั้งรูปแบบหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมทางด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษาที่อิงมาตรฐาน Competency คณะกรรมการดำเนินงานได้นำเสนอให้มีกรอบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และเสนอการจัดตั้งสภาการอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะประกอบด้วย คณะกรรมการจำนวน 12-14 คน จากทั้งภาครัฐบาลและเอกชนอย่างละครึ่ง โดยมีผู้แทนอันทรงเกียรติจากภาคเอกชนเป็นประธานสภาการอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติ ดังแสดงในแผนภูมิที่ 1 มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุมัติมาตรฐาน Competency วิธีวัดผล การอนุมัติหลักสูตรอาชีวศึกษา การออกใบอนุญาตให้สถานศึกษา ตลอดจนสมาชิกภาพและเงื่อนไขการปฏิบัติงานของคณะกรรมการที่ปรึกษาการฝึกอบรมด้านอุตสาหกรรมทั้งระดับภาคและระดับชาติ กรอบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติที่นำเสนอจะช่วยให้ผู้จัดอาชีวะและเทคนิคศึกษาภาคเอกชน ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงเท่าเทียมกับผู้จัดของภาครัฐบาล ในการฝึกอบรมช่างฝีมือ และช่างเทคนิค รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมทั้งในและนอกสถานประกอบการ กรอบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติจะช่วยแยกการจัดการด้านฝึกอบรม ออกจากการอนุมัติและการจัดการด้านคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งในส่วนหลังนี้ทางสภาการอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติ จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเอง นอกจากนี้กรอบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติ ยังช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจ และการมีอำนาจในตนเองของสถานศึกษา อีกทั้งเพิ่มจำนวนและประเภทของผู้จัดอาชีวศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น สภาการอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติ จะส่งเสริมความสัมพันธ์อย่างแท้จริงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในแง่ของอำนาจและการจัดหาทรัพยากรหากมองในระยะยาวแล้วคณะกรรมการดำเนินงานจะคำนึงถึงระบบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแบบตอบสนองอุตสาหกรรม (industry driven) ซึ่งสามารถแน่ใจได้ว่าแรงงานรดับชาติจะสำเร็จถึงและคงไว้ซึ่งรูปแบบการฝึกที่ดีที่สุดในระดับสากล ระยะแรกคณะกรรมการดำเนินงานได้ศึกษานำร่องใน 4 สาขาวิชา ในการร่างหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน Competency ที่ใช้สำหรับการฝึกอบรมช่างฝีมือและช่างเทคนิค ในสาขาพลาสติก (Plastics) อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) ช่างยนต์ (Automotive) และค้าปลีก (Retailing) หลักสูตรเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน ที่ประสบผลสำเร็จในงานหน้าที่ของอาชีพในสาขาวิชาดังกล่าว การศึกษานำร่องนี้ มีคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยกลุ่มอาจารย์ผู้สอน และผู้แทนจากภาคเอกชน ซึ่งทำงานร่วมกันโดยปราศจากกรอบ ข้อบังคับของหลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบัน การดำเนินงานนี้เสร็จสิ้นก่อนกลางปี พ.ศ. 2543 และจะนำเสนอในการสัมมนาระดับชาติของผู้แทนจากภาคเอกชน (อุตสาหกรรม/พาณิชยกรรม) ผู้จัดอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และชุมชน โครงการกำหนดกรอบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติ เป็นโครงการความร่วมมือด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแลประเทศออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนากรอบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติสำหรับประเทศไทย และรูปแบบหลักสูตรอาชีวะที่อิงมาตรฐาน Competency มีผู้บริหารระดับสูงจากภาคอุตสาหกรรมและจากกรมที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ ปัจจุบันมี ดร.สิปปนท์ เกตุทัต เป็นประธานคระที่ปรึกษา คุณสมพงศื นครศรี ประธานกรรมการบริหารบริษัทสายไฟฟ้าบางกอกเคเบิล จำกัด เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ และ Mr. Peter Fleming เป็นผู้ประสานงาน

Article Details

How to Cite
โพธิ์พ่วง ส. . (2002). National Framework for Technical and Vocational Education in Thailand Project. Journal of Engineering, RMUTT, 1, 27–31. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242384
Section
Research Articles

References

Peter Fleming, 2543, กรอบอาชีวะและเทคนิคศึกษาแห่งชาติ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ การเขียนมาตรฐาน Competency และการพัฒนาหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน Competency 21-23 และ 28-30 สิงหาคม 2543, โรงแรมนารายณ์, ถนนสีลม, กรุงเทพมหานคร